การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRANEE เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

KRUPUNMAI SHARE

ผลงานทางวิชาการ   การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRANEE เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน
คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย                           นางสาวปราณี  เก่งการณ์

ปีที่เผยแพร่                2561

 

                                                      บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสำรวจความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRANEE เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRANEE   เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบ PRANEE กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRANEE กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย  รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 8 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดชัยมงคล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 แบ่งเป็น นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 28 คน เป็นกลุ่มทดลอง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRANEE และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มควบคุม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ปัญหาและ ความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ แผนการจัดการจัด การเรียนรู้แบบ PRANEE เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ซึ่งกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความต้องการนวัตกรรมรูปแบบการจัด การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านคิดวิเคราะห์
  2. การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRANEE มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ PRANEE กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านคิดวิเคราะห์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียน  ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ PRANEE เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
  4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ PRANEE มีค่าระดับความพึงพอใจต่อการจัด การเรียนรู้แบบ PRANEE อยู่ในระดับมาก
5/5 - (224 votes)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

บทความทางวิชาการ หน้าที่ของชายไทยกับการเกณฑ์ทหาร

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @