การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลสตูล

KRUPUNMAI SHARE

เรื่อง              การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ
                    การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนอนุบาลสตูล
ชื่อผู้ศึกษา      นางเพ็ญศรี    เจริญสุข    ตำแหน่งครูชำนาญการ  โรงเรียนอนุบาลสตูล  
                    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่ศึกษา        2560

                                                                    บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ  
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ตามเกณฑ์ 80/80 

เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ  
สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย    และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียน      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ    
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย        กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 

โรงเรียนอนุบาลสตูล  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล   ปีการศึกษา  2560  
จำนวน  43  คน เป็นห้องเรียนที่ผู้ศึกษาได้รับมอบหมายให้ดำเนินการสอน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
จำนวน 4 เล่ม  แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ  สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  จำนวน  18   แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน มีลักษณะเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบบทดสอบวัด
จุดประสงค์การเรียนรู้ทักษะการอ่านจับใจความ  มีลักษณะเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก
จำนวน  4 ฉบับ ๆ  ละ 10  ข้อ    และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  scale) จำนวน 10 ข้อ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้
ค่าเฉลี่ย  ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการศึกษาพบว่า
ผลการศึกษาพบว่า
             1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย    มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.27/82.80
 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ  80/80  
            2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  
 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ  43.37  วิเคราะห์ค่าสถิติ t – test
ปรากฏค่า t = – 26.99**  ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01
           3. นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย  4.30   (  =   4.30  ,  S.D. =  0.65)  อยู่ในระดับ  มาก
การวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นแนวทางพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียน ทั้งนี้ควรมีการศึกษาในระดับอื่น ๆ
เนื่องจากนักเรียนมีหลายระดับและ ควรมีการประเมินติดตามผล เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่นำไปสู่การแก้ไขและพัฒนาต่อไป

5/5 - (1 vote)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @