ชื่อวิจัย การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สัมพันธภาพ
ระหว่างนักเรียนในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ผู้วิจัย นางพัชรีย์ ตะเคียนเกลี้ยง โรงเรียนพระทองคำวิทยา อ.พระทองคำ จ.นครราชสีมา
ปี พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกาคิดวิเคราะห์ เรื่อง สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มตัวอย่างการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระทองคำวิทยา อำเภอ พระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าสถิติพื้นฐาน ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน และสถิติการทดลองสมมุติฐาน คือ ค่าสถิติทดสอบ t – test Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.06 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก