รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง      รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด
                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
                 เทคนิค STAD  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้ศึกษา      นางประนอม ลายรัตน์ โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ศึกษา    2559

                                         บทคัดย่อ

                   ศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด
ก่อนและหลังเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนที่มีต่อ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STADกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา2559 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) สังกัดสำนักการศึกษา
เทศบาลนครนครราชสีมา จำนวน 28 คนซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ครั้งนี้ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 แผน 2)
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 30 ข้อ และ 3)
แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent Sample t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
            1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.50/86.90 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
           2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
           3. ความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาดินแดนแห่งอัตลักษณ์พื้นภูมิเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @