ชื่องานวิจัย การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 1
ผู้วิจัย นางนิยา อินนุพัฒน์ โรงเรียนนทบุรีวิทยาลัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
ปี 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการเปรียบเทียบก่อนและหลัง การได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนซอและฮ์ศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 42 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการววิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 15 แผน 2) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรรู้โดยใช้แผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 81.98/84.74 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการเปรียบเทียบก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด มีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและจำแนกตามตามความสามารถรายด้าน โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เป็นไปตามสมมุติฐานที่วางไว้
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด โดยภาพรวมพบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้เรียนเห็นด้วยมากในด้านประโยชน์ที่ได้รับเป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเห็นด้วยมากในด้านของบรรยากาศการเรียนรู้ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นลำดับสุดท้าย