ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางสาวมารุณี ทองอันตัง
แหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนใช้และหลังใช้แบบฝึกทักษะภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ ส าหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะภูมิศาสตร์ทวีป อเมริกาเหนือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ก าลังศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี อ าเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จ านวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่ม ตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึก ทักษะภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จ านวน 6 เล่ม แผนการจัด การเรียนรู้ จ านวน 18 แผน แบบประเมินความพึงพอใจ จ านวน 1 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จ านวน 1 ชุด ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.40–0.70 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.40–0.60 และความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t–test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1. แบบฝึกทักษะภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.19/82.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ หลังใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนใช้แบบ ฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อแบบฝึกทักษะภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.54 , S.D. = 0.54) พบว่านักเรียนมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด