การพัฒนารูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  เพื่อส่งเสริม
                   การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  ตามแนวคิด
                   เศรษฐกิจพอเพียง  สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ชื่อผู้วิจัย      นางสาวนารีรัตน์  ปุวรัตน์  ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการสถานศึกษา
                  วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
                  โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดทองพุ่มพวง)  สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองสระบุรี
                  จังหวัดสระบุรี
ปีที่วิจัย        ปีการศึกษา  2561

                                                      บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา  (Research  & Development)   มีวัตถุประสงค์   ดังนี้  1)  เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   2) เพื่อพัฒนารูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  และ  4)  เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   ประกอบด้วย 1)   การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  2)  การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  3) การประเมินรูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมของครู  4) การศึกษาผลการสัมภาษณ์ประธานชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการมีส่วนร่วมจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  และ 5)  การศึกษาผลการสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับผลที่ได้จากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม กลุ่มตัวอย่างครูที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ปฏิบัติการสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2 คน  และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1  จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (BBBEI Model) คู่มือการใช้รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  แผนการจัดการเรียนการสอน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน  แบบประเมินหลักสูตรของครู  ประเด็นการสัมภาษณ์ประธานชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น  และประเด็นการสัมภาษณ์ครู  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติที และการวิเคราะห์เนื้อหา

        ผลการวิจัยพบว่า
        1.  ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ข้อมูลพื้นฐานมีความหลากหลายทั้งจากเอกสารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซึ่งมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันถึงความจำเป็นที่ต้องพัฒนาการจัดการศึกษาให้สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณการที่เป็นเรื่องราวของสภาพจริงในชุมชน  และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการงานอาชีพและเทคโนโลยีที่มีตัวชี้วัดสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศษศฐกิจพอเพียง โดยรูปแบบของหลักสูตรต้องเป็นระบบตามหลักการ แนวคิด และทฤษฎีของนักการศึกษา  ซึ่งเป็นข้อมูลที่เพียงพอและสอดคล้องเพื่อการพัฒนารูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
ข้อที่  1        
        2.  ผลการพัฒนารูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้  เพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ
บูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า  รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม BBBEI  Model  ที่พัฒนาขึ้น  ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนา   5  ขั้น  คือ  ขั้นที่  1 การระดมความคิด (Brainstorming : B)  ขั้นที่   2  สร้างและพัฒนา (Building  and  Development : B)  ขั้นที่  3 นำไปทดลองใช้  (Bring  to trial : B)  เป็นการนำหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมไปใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนกรสอน ขั้นที่ 4 ประเมินผล (Evaluation : E)  ขั้นที่ 5) ปรับปรุงและพัฒนา (Improvement and Development : I)  และมีความเหมาะสม/สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ   โดยมีค่าความสอดคล้อง (IOC)  เท่ากับ 0.94  และจากการหาประสิทธิภาพโดยการตรวจสอบพิจารณาวิพากษ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรกับคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และจากการนำไปทดลองใช้จัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  30  คน  พบว่า  มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ  82.75/84.22 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ข้อที่  2
        3.  ผลการทดลองใช้รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า จากการประชุมเชิงปฏิบัติการก่อนการทดลองใช้  ครูมีผลการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการสูงขึ้น  ส่งผลให้ครูมีความรู้และความเข้าใจการนำรูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมไปใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่   3/1  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2561 จำนวน  33  คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random  Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) หลังการจัดการเรียนการสอนมีผลการประเมินดังนี้ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนจัดการเรียนการสอน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยมีผลการทดสอบที (t-test  dependent)  เท่ากับ  22.69   2) ด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด  มีคะแนนโดยรวมเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 89.67  3)  ด้านผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร พบว่า ครูมีความคิดเห็นว่าทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 9.46 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.57  4) ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นประธานชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า โดยภาพรวมหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและผลการจัดการเรียนการสอนส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็ง และ 5) ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นครู พบว่า โดยภาพการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ข้อที่  3
        4.  ผลการประเมินการใช้รูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา   พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 จากการทดสอบที  (t-test  dependent )  และมีความพึงพอใจจากการจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด    โดยมีผลการประเมินหลักสูตรตามความคิดเห็นของครูทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  และผลการสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและครูมีความคิดเห็นสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกันสรุปได้ว่า  การพัฒนารูปแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในครั้งนี้สามารถส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งก่อให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและความเข้มแข็งของชุมชน  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ข้อที่  3- 5

 

 

 

 

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @