การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง         การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning)     ประกอบการจัดการเรียนรู้
แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริม     ความสามารถในการทำงานร่วมกัน
วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้น     มัธยมศึกษาปีที่ 6

ชื่อผู้วิจัย      นางเพ็ชรชุมพวง  สุวรรณศรี

ตำแหน่ง      ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา  โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม  อำเภอชุมพวง  จังหวัดนครราชสีมา

ปีที่วิจัย        2559

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ  (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างและ การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6   (2) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  และ (4)  เพื่อประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย  ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แหล่งข้อมูล ที่ใช้ ได้แก่ (1) ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม  (2) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545  (3) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา  (4) เอกสาร แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับ แอคทีฟ เลิร์นนิง (Active Learning) (5) แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 (6) แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน ((Project – Based – Learning : PjBL)  (7) แบบสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียน จำนวน 30 คน (8) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐาน (2) แบบสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียน (3) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรม ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหาสังคม ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ ได้แก่  (1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน สำหรับพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 และ 6/2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 43 คน สำหรับใช้ทดลองหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  (4) แบบประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานร่วมกัน (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559  โรงสาหร่ายวิทยาคม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 5 ชุด (2)  แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผนการเรียนรู้  (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ  (4)  แบบประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานร่วมกันโดยใช้แบบ Scoring Rubrics มี 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ และ  (5) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)  มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่        ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC),  ค่าเฉลี่ย ( ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D), ค่าความยาก (p),  ค่าอำนาจจำแนก (B)  ของ เบรนแนน (Brennan),  ความเชื่อมั่น ของโลเวท (Lovett), สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) ตามวิธีของ เพียร์สัน (Pearson),  สัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach),  การทดสอบค่าที (t-test  Dependent  Samples)  และ ประสิทธิภาพ (E1/E2)

ผลการวิจัย

  1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างและการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ควรมีการจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม ที่เร้าความสนใจในการเรียน เน้นการปฏิบัติจริง เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ทักษะตามลำดับขั้นตอน นำความรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นไปเชื่อมโยงในสาระการเรียนรู้  มีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ด้วยวิธีที่เน้นการประเมินจากการปฏิบัติจริง
  1.   ผลการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมี จำนวน 5 ชุด มีผลการประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.81 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด และได้นำไปทดลองหาประสิทธิภาพ ทดลองแบบเดี่ยว (One to One Testing) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)  เท่ากับ 81.33/79.17 ทดลองแบบกลุ่มเล็ก (Small Group Testing) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)  เท่ากับ 80.67/81.75 และทดลองภาคสนาม (Field Tryout) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.48/81.64 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
  2. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

3.1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.58/81.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.3 ผลการประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.93  ซึ่งอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 78.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 75 ขึ้นไป)

3.4 ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D.= 0.59)

  1. ผลการประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

4.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ระหว่างคะแนนหลังเรียนกับคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนในครั้งที่ 2 หลังผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน แสดงว่านักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้

4.2 ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนสังคม ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active  Learning) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based – Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาประวัติศาสตร์สากล 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32 . S.D.= 0.59)

 

1/5 - (1 vote)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @