การประเมินโครงการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านออน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่องที่ศึกษา     การประเมินโครงการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านออน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

ผู้ศึกษา                  นิติ  วุฒิธนากรกุล


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านออน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต  และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านออน ประชากร ประกอบด้วย  ครู จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 55 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 55 คน การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้รูปแบบการประเมิน ของซิปป์ (CIPP Model) ของ Stuffle Beam เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามด้านบริบท แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า แบบสอบถามด้านกระบวนการ แบบสอบถามด้านผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลได้ดังนี้ผลการประเมินด้านบริบท โครงการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง  โรงเรียนบ้านออน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก (  = 4.14) ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โครงการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง  โรงเรียนบ้านออน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3  พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( 4.17) ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ผลการประเมินด้านกระบวนการ โครงการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านออน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3   พบว่า  มีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( 4.21)  ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง  โรงเรียนบ้านออน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 พบว่ามีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.29)  ผ่านเกณฑ์การประเมิน

จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 (ที่มีผลการเรียนระดับดี (3) ขึ้นไป) รายวิชาพื้นฐานของปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมพบว่า ในปีการศึกษา 2561 รายวิชาพื้นฐาน ที่นักเรียนมีผลการเรียนระดับดี (3) ขึ้นไปเพิ่มขึ้น มากที่สุดได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ (เฉลี่ย 40.32) สูงกว่าปีการศึกษา 2560 (เฉลี่ย  34.17)  6.15 รองลงมาได้แก่วิชาสังคมศึกษาฯ (เฉลี่ย 40.52) สูงกว่าปีการศึกษา 2560 (เฉลี่ย 34.50) 6.02  และวิชาภาษาไทย (เฉลี่ย 41.87) สูงกว่าปีการศึกษา 2560 (เฉลี่ย 36.39) 5.47

 

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

บทความทางวิชาการ หน้าที่ของชายไทยกับการเกณฑ์ทหาร

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @