ชื่อเรื่อง รายงานการใช้เพลงและภาพประกอบบทเรียน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านโคกสูงวิทยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ผู้รายงาน นางสาววิจิตตรา อุดเมืองเพีย
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านโคกสูงวิทยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้เพลงและภาพประกอบบทเรียน โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และเพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เพลงและภาพประกอบบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกสูงวิทยานุกูล อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการสอนคณิตศาสตร์ที่ใช้เพลงและภาพประกอบบทเรียน จำนวน 15 แผน ใช้เวลาสอน 17 ชั่วโมง เป็นแผนการสอนประกอบเพลงที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมาจากสาระสำคัญและเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวน 1 ชุด เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มี 30 ข้อ
และแบบวัดเจตคติการการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีลักษณะแบบสอบถาม จำนวน 30 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนโดยการใช้เพลงและภาพประกอบบทเรียน จากนักเรียนทั้งหมด 5 คน มีนักเรียนที่สอบผ่านเกณฑ์ 2 คน ค่าเฉลี่ยคะแนน คิดเป็น ร้อยละ 52.67 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 7.33 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนโดยการใช้เพลงและภาพประกอบ นักเรียนสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทั้ง 5 คน ค่าเฉลี่ยคะแนน คิดเป็น ร้อยละ 74.0 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 14.0 แสดงว่า การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้เพลงและภาพประกอบทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
- ผลการเปรียบเทียบเจตคติ ก่อนเรียนเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวม อยู่ในระดับน้อย (±SD = 2.29±0.65) ส่วนหลังเรียนโดยใช้โดยการใช้เพลงและภาพประกอบบทเรียน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก (±SD = 3.36±0.26) และในแต่ละประเด็นก็พบว่าเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นทั้งหมด