การจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)

KRUPUNMAI SHARE

เรื่อง                         การจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)

ผู้วิจัย                     เรือนเพชร์  ธรรมโสภณ

ปีการศึกษา           2561

บทคัดย่อ

 

การจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ  เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ครั้งนี้             มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80   2)  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ เด็กชาย – หญิงที่มีอายุระหว่าง 5 – 6  ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3   ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) เทศบาลนครยะลา  จังหวัดยะลา  จำนวน  33  คน  จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย  ในภาคเรียนที่  1     ปีการศึกษา  2561  จำนวน  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  3  วัน  วันละ  50  นาที  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  แผนพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 24  แผน  ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ  สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  3  จำนวน 8  ชุด และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 20  ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2 ) และการทดสอบค่าที  ( t – test )

 

สรุปผลการวิจัย

  1. การจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ  84.22/83.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
  2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3  สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

ผลการใช้แอปพลิเคชัน In-House พัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหมี่

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @