ชื่องานวิจัย รูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
เทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย ว่าที่ร้อยตรี ชสิทธิ์ภิวัฒน์ กันยายน
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและกำหนดกรอบกิจกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อนำรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาล
วัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและกำหนดกรอบกิจกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของ โรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ และขั้นตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจ ของรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13 คน เครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน ของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำปีการศึกษา 2561-2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดสอบ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธี (mixed methods) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviations) และนำเสนอผลโดยพรรณนาความ
สรุปผลการวิจัย
รูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ สรุปผลได้ดังนี้
- ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและกำหนดกรอบกิจกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่
1.1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
จากการสัมภาษณ์และการสังเคราะห์ข้อมูล พบว่า
1) ไม่มีผลการประเมินความสำเร็จตามเป้าหมายของการดำเนินงาน
2) ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูล เครื่องมือสำหรับการประเมินความสำเร็จ ทั้งด้านผู้เรียน ด้านครูและด้านผู้บริหาร
3) ไม่มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพของงาน
4) ไม่มีผลสรุปความสำเร็จตามเป้าหมายทั้งในระดับหน่วยงานและระดับแผนพัฒนา
1.2 ผลการกำหนดกรอบกิจกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพ ภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่
ผลการพัฒนาเกี่ยวกับพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตสัมภาษณ์การสอบถาม และการสำรวจ ปรากฏผลตามกรอบการศึกษา คือบุคลากรทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษาได้ข้อมูลในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพ มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เสียสละ ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจและเวลา ในการร่วมมือกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรภาย
ในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษามากขึ้น คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยความมั่นใจมากขึ้น มีการกำหนดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดทั้งสร้างสื่อคู่มือการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
- ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่
จากการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถามและสนทนากลุ่ม ( Focus Group) ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนซึ่งประกอบด้วย ครู คณะกรรมการสถานศึกษา -ขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายผู้ปกครองพบว่า ผลการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน เทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้
2.1 ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและเตรียมการ เป็นขั้นตอนที่จะต้องพัฒนาบุคลากรภายในโรงเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจ กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาคือ การฝึกอบรม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ การยอมรับและการตระหนักในคุณค่าความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน กำหนดบทบาทหน้าที่การสร้างทีมงาน การพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงาน
2.2 ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา คือประชุมเชิงปฏิบัติการโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ครู บุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานการศึกษา การจัดทำมาตรฐานคุณภาพการศึกษา การจัดทำปฏิทินปฏิบัติการ การจัดทำแผนปฏิบัติการ แผนพัฒนาประจำปีงบประมาณ และการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของฝ่าย งานและรายบุคคล ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานด้านกิจกรรม
การเรียนการสอน รูปแบบ เทคนิควิธีการสอน
2.3 การนำแผนการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา
คือ การประชุมชี้แจงและการมอบหมายหน้าที่ปฏิบัติโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้นำท้องถิ่นและชุมชนเกี่ยวกับแผนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา การพัฒนาบุคลากร การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก
และนิเทศกำกับ ติดตามประเมินผล
2.4 ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เป็นขั้นการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ ขั้นตรวจสอบ ขั้นสรุปและขั้นรายงาน กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาคือการประชุมกำกับติดตาม
และประเมินผลโดยมีเป้าหมาย เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของครู บุคลากรทางการศึกษา
ว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่เพียงใด และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทีในระหว่างดำเนินการ และมีข้อมูลสารสนเทศจากผลการดำเนินงาน
2.5 ขั้นตอนที่ 5 การพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐาน เป็นขั้นตอนการพัฒนา
และปรับปรุงมาตรฐานตัวบ่งชี้และมาตรฐานการปฏิบัติงาน กิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนาคือประชุมเชิงปฏิบัติการโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรทุกคน ทุกฝ่าย ทุกงาน
ได้ร่วมกันปรับปรุงมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนปฏิบัติงานและตามบทบาท หน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมาย
2.6 ขั้นตอนที่ 6 การเตรียมการรับการประเมินจากองค์กรภายนอกเป็นขั้นตอนที่มีการเตรียมการ 3 ด้าน คือ การสร้างความเข้าใจให้กับครูและบุคลากร และการเตรียมการด้านเอกสารกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาการ คือการนิเทศโดยมีเป้าหมายเพื่อแนะนำและชี้แจงให้ครู อาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษามีความเข้าใจในการเตรียมรับการประเมินจากองค์กรภายนอก
3 . ผลการนำรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในไปใช้ในการดำเนิน งานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่
ผลการนำรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้
3.1 ด้านการศึกษาและการเตรียมการใช้กิจกรรมการดำเนินงาน การทำกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาและการเตรียมการบรรลุตามเป้าหมาย บุคลากรทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ข้อมูลในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพต่อไป เช่น การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ การวางแผนในการจัดการเรียนรู้ การเตรียมความพร้อมเพื่อการพัฒนาผลงานเข้าสู่การเลื่อนตำแหน่ง หรือเลื่อนให้ได้รับวิทยฐานะต่าง ๆ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน ซึ่งทุกคนตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษามากขึ้น คณะกรรมการที่แต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยความมั่นใจมากขึ้น มีการกำหนดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดทั้งสร้างสื่อ คู่มือการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
3.2 ด้านการวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผน
การประกันคุณภาพการศึกษา บรรลุเป้าหมาย คือ บุคลากรหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ หัวหน้าฝ่าย คณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมกันวางแผนการพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
มีการจัดทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศให้ครบทุกด้านและเป็นปัจจุบันได้เอกสารมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการของโรงเรียน มาตรฐานการปฏิบัติงานของแต่ละหมวด แต่ละฝ่ายที่ปรับปรุงจากฉบับเดิมให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียนในสภาพปัจจุบันซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานประกันคุณภาพและการรายงานผลต่อสาธารณชนและต้นสังกัดต่อไป
3.3 ด้านการนำแผนการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้
3.3.1 ผลการดำเนินการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม มีความรู้ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง
การมีส่วนร่วมจะช่วยให้พัฒนาโรงเรียนได้ดีขึ้น ในครั้งต่อไปโรงเรียนควรประชาสัมพันธ์กับใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชน ในแต่ละหมู่บ้านหรือชุมชน ขอความร่วมมือประกาศ กระจ่ายข่าวแจ้งว่าไม่มี
การบริจาคเงิน และควรจัดประชุมไม่ให้ตรงกับวันหยุด หรือช่วงที่เก็บเกี่ยวทำนา คณะกรรมการสถานศึกษา
มีความพึงพอใจที่โรงเรียนได้ตั้งหรือกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนอย่างน้อยทุกคนได้รู้
และเข้าใจว่านักเรียนเมื่อมาเรียนหนังสือแล้วได้อะไรบ้าง และเสนอแนะว่าต้องการให้โรงเรียน
ได้จัดทำอะไรบ้าง เช่น การส่งเสริมโครงการศึกษาดูงาน การส่งเสริมใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน การสอนภาษาต่างประเทศโดยครูเจ้าของภาษา
3.3.2 การมอบหมายงาน มีการประชุมมอบหมายงานโดยมีเป้าหมายเพื่อให้กลุ่มบุคลากรทุกคนรับผิดชอบภาระงานตามความรู้ความสามารถ เมื่อบุคลากรทุกคนได้เข้าใจในภาระงานบทบาทหน้าที่ และขั้นตอนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาและกำหนดในแผนปฏิบัติการของโรงเรียนจากการมีส่วนร่วมคิดร่วมทำทุกคนทำให้งานประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่ง ของการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้ต้องมีการกำหนดตัวผู้ปฏิบัติงาน โดยผู้วิจัยและผู้ร่วมศึกษาได้เปิดโอกาสให้ครูได้เลือกรับผิดชอบและปฏิบัติงานตามความสนใจ ความรู้ความสามารถและรวมกลุ่มงานที่จะมาร่วมกันทำงานเป็นทีมพัฒนางาน
3.4 ด้านการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
ผลการดำเนินกิจกรรม จากการทบทวนตรวจสอบคุณภาพการศึกษา พบว่าครู
และนักเรียนได้ทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และได้ให้ข้อตกลงพร้อมกันในการดำเนินงานแก้ปัญหา จะไม่หยุดชะงัก เพราะจะทำให้เกิดผลไม่ดีกับนักเรียน โรงเรียน ผู้อำนวยการสถานศึกษาให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาและเชื่อมั่นว่า ทุกปัญหาจะต้องได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ด้วยความร่วมมือ
ของบุคลากรทุกคนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ กำกับติดตาม มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจให้คณะกรรมการสามารถดำเนินการตรวจสอบทบทวนคุณภาพการศึกษาตามกำหนดเวลาสามารถดำเนินการเก็บข้อมูลได้ทุกมาตรฐานสรุปรายงานผลการตรวจสอบได้ตามกำหนดเวลา
3.5 ด้านการพัฒนาและปรับปรุง มาตรฐานการศึกษา
มาตรฐานด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยและนวัตกรรมของครูและนักเรียนที่ประชุมตกลงกันว่า ในสภาพของการเปลี่ยนแปลงสังคมและวิทยาการด้านต่าง ๆ
ครูควรปรับเปลี่ยนวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูต้องเปลี่ยนแปลงตนเองในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ครูทุกคนควรเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การทำวิจัยในชั้นเรียน
การสร้างสื่อและนวัตกรรม
3.6 ด้านการเตรียมรับการประเมินจากองค์กรภายนอก
ผลการนิเทศการเตรียมรับการประเมินจากองค์กรภายนอก มีข้อค้นพบ คือ
3.6.1 จากที่ครูได้รับการนิเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้ครูให้ความร่วมมือในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากขึ้น มีความชัดเจนมากขึ้นในการจัดเตรียมเอกสาร ข้อมูลสารสนเทศและร่องรอยการปฏิบัติงาน ครูมีผลงานที่สะท้อนผลการนิเทศได้ในระดับดี
3.6.2 จากการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้มีความมั่นใจมีความพร้อมให้สำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เข้าประเมินคุณภาพภายนอก
- ผลการประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่
ผลการประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้
4.1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อกระบวนการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.81) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการนำแผนการประกันคุณภาพภายในไปใช้ ( = 4.98) ด้านการตรวจสอบทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา ( = 4.90) การพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการศึกษา
( = 4.89) ด้านการเตรียมการประเมินจากองค์กรภายนอก ( = 4.83) ด้านการศึกษา
และเตรียมการ ( = 4.80) และด้านการวางแผนการประกันคุณภาพภายในไปใช้ ( = 4.61) ตามลำดับ
4.2 ระดับการมีส่วนร่วมของผลการประเมินความพึงพอใจของการพัฒนาประสิทธิภาพการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 13 คน พบว่า เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ของบุคลากรก่อนที่จะมีการใช้กลยุทธ์นั้น บุคลากรมีความพึงพอใจ ระดับปานกลาง ( = 3.35) หลังการใช้กลยุทธ์มีความพึงพอใจในการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก ( = 4.04)