นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ RACHA Model

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง      :         นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ RACHA Model

ผู้จัดทำ      :         โรงเรียนราชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2

ปีที่จัดทำ    :         2563

คำสำคัญ    :         นวัตกรรม/การสร้างเสริมสุขภาพ/โรงเรียนพื้นที่สูง/ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

การศึกษาค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) สร้างนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ทดลองใช้นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ประเมินนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลด้านสุขภาพนักเรียน แบบสอบถาม แบบประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ประสิทธิภาพของนวัตกรรมและใช้แบบประเมินนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

              ผลการศึกษาพบว่า

  1. นักเรียนมีผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 76 นักเรียนมีความฉลาดทางอารมณ์ของอยู่ในด้านดี คิดเป็นร้อยละ 84.52 ด้านเก่ง คิดเป็นร้อยละ 76.19 และด้านสุข คิดเป็นร้อยละ 80.95 มีปัญหาเรื่องผมและศีรษะ คิดเป็นร้อยละ 38.84 มีปัญหาเรื่องใบหูและซอกหู คิดเป็นร้อยละ 35.76 มีปัญหาเรื่องฟัน คิดเป็นร้อยละ 31.15 มีปัญหาเรื่องใบหน้าและผิวหนังทั่วร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 32.30 มีปัญหาเรื่องมือและเล็บมือ คิดเป็นร้อยละ 27.30 มีปัญหาเรื่องเท้าและเล็บเท้า คิดเป็นร้อยละ 28.84 มีปัญหาเรื่องเสื้อผ้า คิดเป็นร้อยละ 23.07 และมีปัญหาเรื่องรองเท้าและถุงเท้า คิดเป็นร้อยละ 22.30 มีปัญหาเรื่องปากและลิ้น คิดเป็นร้อยละ 0.03 มีปัญหาเรื่องเหงือก คิดเป็นร้อยละ 0.05 มีปัญหาเรื่องต่อมไทรอยด์ คิดเป็นร้อยละ 0.003 มีปัญหาเรื่องผิวหนัง คิดเป็นร้อยละ 0.05 และมีปัญหาเรื่องอาการผิดปกติอื่นๆ (การเดิน) คิดเป็นร้อยละ 0.007 นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 42.30 มีความรู้เรื่องสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 0.04 ด้านการเจริญเติบโตนักเรียนส่วนใหญ่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 76.15 และส่วนใหญ่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 73.84 การประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (Strengths and Difficulties Questionnaire : SDQ) นักเรียนมีปัญหาทางด้านอารมณ์ คิดเป็นร้อยละ 21.91 มีปัญหาทางด้านความประพฤติ คิดเป็นร้อยละ 25.24 และมีปัญหาทางด้านพฤติกรรมการไม่อยู่นิ่ง คิดเป็นร้อยละ 16.99
  2. นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการโต้ตอบซักถามเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ รองลงมา คือ ด้านการตัดสินใจด้านสุขภาพ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ
  3. นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ปัจจัยนำเข้า 4) กระบวนการ 5) ผลผลิต 6) ผลลัพธ์ และ 7) ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ โดยนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า “นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ RACHA Model” และมีผลการประเมินความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก
  4. นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ RACHA Model เมื่อนำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริงตามระยะเวลาที่กำหนด สามารถลดปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ RACHA Model โดยภาพรวมมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากและมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่สูง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ RACHA Model อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @