การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง       การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อผู้วิจัย        นางสาวมาลิสา  ไทยดำรงเดช  ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๕  วัดเกาะกลาง สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค
จังหวัดสระบุรี

ปีที่วิจัย          ปีการศึกษา  2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research& Development ) มีวัตถุประสงค์  ดังนี้  1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  2) เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4)  เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1  ได้แก่   หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระที่  1 การดำรงชีวิตและครอบครัว   สาระการเรียนรู้เรื่องงานบ้าน อาหารและโภชนาการ ทฤษฎีการสร้างความรู้ของ โจแนสเซน (1993:139)   บรูเนอร์  (1986,1990,1996) กานอนและคลอลีย์ (2005) และ ฟอสน็อท (1996: 12-15) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและความสามารถในคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ     การศึกษาความต้องการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน  30 คน ประเด็นการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2  คน และประเด็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวน 3 คน แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในขั้นตอนที่ 1  ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ในการตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้อง  และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  แหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ  4  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2562 โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดเกาะกลาง สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค  อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 31 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random  Sampling )  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการงานอาชีพ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤาฎีการสร้างความรู้  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา(content analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่การหาค่าเฉลี่ย  () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test dependent )

ผลการวิจัย

  1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ข้อมูลพื้นฐานโดยภาพรวมมีความเหมาะสม/สอดคล้องและเพียงพอกับการศึกษา เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551 มีเป้าหมายการของการจัดศึกษาที่สอดคล้องกัน คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้  โดยเน้นทักษะการคิดและจากความต้องการของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอน พบว่า ต้องการให้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในส่วนของผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่า การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเน้นการฝึกปฏิบัติจริงและฝึกการคิดมากๆจะส่งผลต่อการเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณได้ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพที่เห็นว่าปัจจัยสำคัญในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพคือการปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
  2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน (EPLCE  Model ) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้  5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การกระตุ้นเตรียมความพร้อม (Encouragement: E ) ขั้นตอนที่ 2 การนำเสนอเนื้อหา (Presentation: P) ขั้นตอนที่ 3 การเรียนรู้กระบวนการคิด (Learning Thinking Process: L) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการคิด 6 ขั้น 1) ตั้งเป้าหมายการคิด 2) วิเคราะห์และระบุประเด็นปัญหา  3) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  4) ประเมินข้อมูล  5) ระบุสาเหตุและประเมินทางเลือก และ 6) ฝึกปฏิบัติการคิด   ขั้นตอนที่ 4 การสร้างความรู้ (Construction: C)  และขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation: E)  มีความเหมาะสม/สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน  โดยมีค่าความเหมาะสมสอดคล้องมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ  75 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.43  และจากการหาประสิทธิภาพโดยนำไปทดลองใช้ (Tyout)  กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2561  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  30 คน พบว่า  มีประสิทธิภาพ ( E1/E2 ) เท่ากับ 81.98/83.22 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  (EPLCE  Model) พบว่า จากการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดเกาะกลาง  สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค  อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี  จำนวน 31  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling  Unit ) พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3  โดยพบว่าหลังการเรียนการสอนนักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ   .05  โดยมีค่าการทดสอบที ( t-test  dependent ) เท่ากับ 52.709  ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย X-Bar เท่ากับ 37.25  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เท่ากับ 1.04   และหลังเรียนเท่ากับ  51.45  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.80  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าการทดสอบที ( t-test  dependent ) เท่ากับ 47.887    โดยมีคะแนนเฉลี่ย X-Bar ก่อนเรียน  เท่ากับ  16.77   และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.99   และหลังเรียนเท่ากับ 26.04  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เท่ากับ 0.16   เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 5
  4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (EPLCE Model) พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอนนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย X-Bar เท่ากับ 4.69  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 6
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @