กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม : ข้าว กับอาหารชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์
อานง ใจแน่น
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง
Anong Jainan
Suan Dusit University Lampang Center
———————-
บทคัดย่อ
องค์ความรู้ในเรื่องข้าว (ขนม) กับอาหารชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธ์ เป็นองค์ความรู้ที่มาจากงานวิจัยโครงการสวนดุสิตวิชาการ “จากขุนเขา… สู่ครัวของแผ่นดิน” มหกรรมอาหารชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์ 17 จังหวัดภาคเหนือเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการถ่ายทอดองค์วามรู้แบบมีส่วนรวมที่ในเกิดประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนในรายวิชาทคโนโลยีข้าว ประกอบไปด้วย ความรู้ ด้านวัตถุดิบท้องถิ่น วัฒนธรรม กระบวนการทำขนม และเทนนิคต่างๆ ที่มาจากองค์ความรู้ของคนในชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจนเกิดเป็นขนมที่สำคัญของคนในชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้นผู้สกัดองค์ความรู้ในเรื่องข้าว (ขนม) กับอาหารชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธ์ ได้นำเข้าสู่กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมมีส่วนรวม โดยมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน การถ่ายทอดส่งต่อความรู้ที่มีประสิทธิภาพเกิดขึ้นในชั้นเรียนสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ด้านพุทธพิสัย ด้านจิตพิสัย ด้านทักษะพิสัย
คำสำคัญ : องค์ความรู้, กระบวนการถ่ายทอดแบบมีส่วนร่วม, ข้าว, อาหารชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์
Abstract
Knowledge of rice (sweets), ethnic food and ethnic groups have been derived from Suan Dusit Academic Research Exhibition “From Mountain to Kitchen of the Land: Tribal and Ethnic Food Festival in 17 northern provinces. This knowledge can be brought into the process of sharing knowledge in a collective way that benefits the learners in the Rice Technology Course with the knowledge of local ingredients, culture, dessert-making processes and various techniques derived from the knowledge of people in tribal and ethnic groups. Those are related to each other until becoming an important dessert of people in tribes and ethnic groups. Therefore, those who extracted the knowledge about rice (sweets) and ethnic food as well as ethnic groups brought into the process of sharing knowledge with systematic management going in the corresponding direction. The transfer of effective knowledge can take place in the classroom in accordance with the three learning objectives, namely, cognitive domain, affective domain, and psychomotor domain.
Keywords: Participatory transmission process, Rice, Tribal and ethnic food
ดาวน์โหลด
บทความ กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม : ข้าว กับอาหารชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์