การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง              การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชื่อผู้วิจัย             นางปิยะพร ศิลาอ่อน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
                          โรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ปีที่วิจัย              ปีการศึกษา 2564

 

                                                          บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง        ปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน     เกมการศึกษา แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ และสื่อเอกสารบัตรภาพ บัตรคำ บัตรปริศนาคำทาย ใบความรู้ ใบงาน และภาระงาน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาข้อมูลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ     เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้สื่อและนวัตกรรมที่หลากหลาย คือ เกมการศึกษา แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ บัตรภาพ บัตรคำ บัตรปริศนาคำทาย แผนผังเพลง ใบความรู้ ใบงาน และภาระงาน ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 3) ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ขั้นสรุปและประเมินผล
  2. ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 82.08/83.89 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
  3. ความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
  4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
  5. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หลังจบการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (  = 2.70, S.D. = 0.45)

 

Title                   : Development of child-centered learning to enhance words
Spelling writing ability for prathomsuksa 2 students

Researcher           : Mis Pranee Chanthanyakam
Teacher of Senior Professional Level   Tedsaban 4 School Nongkhaeanusorn
Under jurisdiction of Municipal Education Department,
Nongkhae Subdistrict, Nongkhae District, Saraburi Province

Year                     : 2019 (B.E.2562)

 

                                   Abstract

The purposes of this research (Research & Development) were: 1) to develop child centered learning to enhance words spelling writing ability for prathomsuksa 2 student 2) to compare words spelling writing ability of prathomsuksa 2 students before and after learning by using child-centered learning 3) to compare Thai learning achievement of prathomsuksa 2 student before and after learning by using child-centered learning and 4) to study opinion of prathomsuksa 2 students towards child-centered learning. The sample that were used in this research were 33 students that studied in prathomsuksa 2 of Tedsaban 4 (Nongkhaeanusorn) semester 1 academic year 2019 (B.E.2562) which were chosen by simple random sampling and used classroom as a random unit. This research’ tools consisted of child-centered learning’s lesson plans, cooperative learning techniques, educational game, words spelling practice book’s and document medias, picture cards, word cards, riddle cards, knowledge sheet, worksheets and tasks ; collecting data tools were words spelling writing ability tests, Thai learning achievement tests and questionnaire of students’ satisfaction. Data was analyzed by using percentage (P) ,mean () ,standard deviation (S.D.) and t-test dependent (t-test) and content analysis.

           The results were as follow :

  1. The study of the development of child-centered learning to enhance words spelling writing ability for prathomsuksa 2 student got varieties of instructional medias and innovation that were : educational games, words spelling practice book, picture cards, word card, riddle cards, songs chart, knowledge sheets, worksheets and tasks that composed of 4 steps of learning activities : 1) Preparation 2) Introduction 3) Learning Activity and 4) Summary and Evaluation.
  2. The results of the development of child-centered learning to enhance words spelling writing ability for prathomsuksa 2 student by trying out with 30 students of prathomsuksa 2/2 found that having the efficiency of process and result (E1/E2) were 82.08/83.89 which was effective as 80/80 criteria according to the 1 st hypothesis.
  3. Words spelling writing ability of prathomsuksa 2 student that learned by using child-centered learning found that after learning was higher than before learning which was significant at .05 level according to the 2 nd hypothesis.
  4. Thai learning achievement of prathomsuksa 2 students that learned by using child-centered learning found that after learning was higher than before learning which was significant at.05 level according to the 3 rd hypothesis.
  5. Satisfaction of prathomsuksa 2 students towards using child-centered learning after finishing class in overall was at highly satisfied ( = 2.70, S.D. = 0.45)

 

 

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

ผลการใช้แอปพลิเคชัน In-House พัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหมี่

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @