บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
ผู้รายงาน : นายธีระศักดิ์ โนชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนจันจว้าวิทยาคม
ปีการศึกษา : 2565
รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย การวิจัยครั้งนี้มีวิธีการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพของการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะอนุกรรมการบริหารงานวิชาการจำนวน 9 คน ครูจำนวน 13 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ยกเว้นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นผู้แทนครูและผู้แทนผู้บริหารได้อยู่ในส่วน ที่เป็นครูสอนแล้ว ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-ปีที่ 6 จำนวน 148 คน จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling ) ตามตารางของ Krejcie & Morgan รวมทั้งหมด 177 คน ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามงานวิจัย เรื่องสภาพของการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย และแบบสอบถามงานวิจัย เรื่องสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ทางสถิติ คือ ความถี่(Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) วิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และสังเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวบ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายในการประชุมเชิงปฏิบัติการ จากผู้มีส่วนได้เสียในด้านของการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้เสียโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ และบรรยายเป็นความเรียง ส่วนการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) วิเคราะห์ร่างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คนโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดตามเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ และบรรยายเป็นความเรียง ขั้นตอนที่ 3 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย การนำไปใช้ ดำเนินการในปีการศึกษา2565 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 234 คนและครูจำนวน 13 คน รวม 247 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ และบรรยายเป็นความเรียง และขั้นตอนที่ 4 ผลการทดลองรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 148 คนจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling ) ตามตารางของ Krejcie & Morgan และครูจำนวน 13 คน รวม 247 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ทางสถิติ คือ ความถี่(Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) วิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารการประเมินวัดผลของโรงเรียนจันจว้าวิทยาคม
สรุปผลการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ดังนี้
1.ศึกษาสภาพของการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายพบว่า สภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.863 ทางด้านสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 4.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.472
2.การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ ดังนี้1. หลักการของรูปแบบ 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3. วิธีการดำเนินงานของรูปแบบ 4. การประเมินผลของรูปแบบ และ 5. เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ
3. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงรายพบว่าการดำเนินการนำร่างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ที่ได้รับการพัฒนานำมาทดลองใช้ในปีการศึกษา 2565 พบว่า การนำไปทดลองใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565ถึง 30 มีนาคม พ.ศ. 2566 มีผลการการทดลองใช้ที่ดีและมีการปรับปรุงรูปแบบให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
4. ผู้เชี่ยวชาญมีการประมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย พบว่า มีการประมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนการประเมินตนเองในด้านทักษะอาชีพในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด สมรรถนะของผู้เรียนที่มีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 90.79 การประเมินคุณลักษะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 พบว่า นักเรียนมีคุณลักษะอันพึงประสงค์ ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 94.59 ส่วนโรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียนได้รับการการยอมรับ และคำชื่นชมโดยได้รับรางวัลในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ภาคเหนือและระดับประเทศ