KRUPUNMAI SHARE

การขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยเด็กและเยาวชน

(Requesting temporary release of accused or juvenile defendants)

ชนัญชิดา เทียมใจ[1]

Chanunchida Thamjai 1

พิชญา เหลืองรัตนเจริญ[2]

Pitchaya Luangrattanacharoen 2

บทคัดย่อ

    สาเหตุของการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากกระบวนการทางความคิดที่ผิดพลาดในช่วงของการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กไปสู่วัยรุ่น และปัจจัยอื่นๆ อีกหลากหลายที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นทางสังคัม พัฒนาการของเด็กและเยาวชน สถาบันครอบครัว เพื่อน สื่อเทคโนโลยีต่างๆ และยาเสพติด ซึ่งสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในช่วงเวลานั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางความคิด อารมณ์ ความรู้ความเข้าใจของเด็กและเยาวชน ดังนั้น เมื่อเด็กและเยาวชนกระทำความผิดกฎหมายก็จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนต่อไป และเมื่อมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลได้ ทั้งนี้ หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนไว้ในสถานพินิจหรือสถานที่อื่นที่ศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนชั่วคราวโดยมีประกัน หรือไม่มีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันก็ได้

คำสำคัญ: เด็กและเยาวชน, ปล่อยชั่วคราว, ควบคุมตัว

[1] นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Master’s degree student, Master of Laws Program in laws, Faculty of Social Sciences and Local Development Pibulsongkram
Rajabhat University*E-mail : chanunct@hotmail.com
[2] อาจารย์, คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Professor, Faculty of Social Sciences and Local Development Pibulsongkram Rajabhat University
*E-mail : ajanya@hotmail.co.th

ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE
@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @