ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 56/2559
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 2/2559
ศึกษาธิการ – พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 2/2559
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า
ทั้งนี้ ที่ประชุมครั้งนี้ได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานและโครงการต่างๆ ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมีประเด็นสำคัญโดยสรุป ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1) การปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักครู ที่ประชุมรับทราบการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักครูในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ในการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งขณะนี้ สพฐ.ได้รวบรวมข้อมูลจากเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับจำนวนบ้านพักที่มีครู อาศัยอยู่และมีความชำรุดทรุดโทรมควรได้รับการซ่อมแซมเร่งด่วน รวม 2,240 หลัง พร้อมได้จัดสรรงบประมาณเหลือจ่ายปีงบประมาณ 2559 เพื่อซ่อมแซมบ้านพักครูในโรงเรียนรวม 1,330 หลัง ในวงเงิน 262 ล้านบาท และเตรียมเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณในปี 2560 เพิ่มเติม เพื่อซ่อมแซมบ้านพักครูในโรงเรียนอีก 10,125 หลัง วงเงินรวมทั้งสิ้น 2,025 ล้านบาท ต่อไป
2) การรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2559 ที่ประชุมรับทราบตามประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2559 ของ สพฐ. ซึ่งในปีการศึกษานี้มีการนำคะแนน O-NET ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในสัดส่วนร้อยละ 20 มาใช้ประกอบการรับนักเรียนด้วย โดยมีปฏิทินการรับนักเรียน ดังนี้
– ระดับก่อนประถมศึกษา รับสมัครวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2559 จับฉลากวันที่ 13 มีนาคม 2559 ประกาศผลและรายงานตัวนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ วันที่ 13 มีนาคม 2559 และมอบตัววันที่ 20 มีนาคม 2559
– ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 รับสมัครวันที่ 6-10 มีนาคม 2559 จับฉลากวันที่ 20 มีนาคม 2559 ประกาศผลและรายงานตัวนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ วันที่ 20 มีนาคม 2559 และมอบตัววันที่ 27 มีนาคม 2559
– ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1) โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง 282 แห่ง รับสมัครนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ วันที่ 20-21 มีนาคม 2559 สอบ 23 มีนาคม 2559 ประกาศผลและรายงานตัว 25 มีนาคม 2559 มอบตัว 9 มีนาคม 2559, รับสมัครสอบคัดเลือกนักเรียนทั่วไปและใช้คะแนน
2) โรงเรียนทั่วไป รับสมัครวันที่ 20-24 มีนาคม 2559 สอบคัดเลือก 3 เมษายน 2559 ประกาศผลและรายงานตัววันที่ 7 เมษายน 2559 จับฉลากประกาศผลและรายงานตัว วันที่ 3 เมษายน 2559 มอบตัววันที่ 9 เมษายน 2559 โดยนักเรียนต้องยื่นคะแนน
โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จบจากโรงเรียนเดิม ให้รายงานตัววันที่ 31 มีนาคม 2559 มอบตัววัน
3)
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
1) การจัดงานอาชีวศึกษาทวิภาคีไทย ที่ประชุมได้รับทราบรายงานการจัดงานดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 29-30 มกราคม 2559 ที่อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็คเมืองทองธานี โดยมีนักเรียนนักศึกษา ผู้ประกอบการ ผู้บริหารสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชน ให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่า 180,000 คน โดยได้รับเกียรติจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาและเยี่ยมชมนิทรรศการ ผลงาน นวัตกรรมของนักเรียนนักศึกษา และ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานปิดงาน
ในส่วนผลลัพธ์จากการจัดงาน นอกจากจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน-สถานศึกษา-สถานประกอบการ ตลอดจนทำให้ผู้ปกครองและผู้เรียนสนใจเข้าเรียนระบบทวิภาคีมากขึ้น สิ่งสำคัญคือ มีผู้ประกอบการแจ้งความประสงค์ร่วมจัดการอาชีวศึกษาทวิภาคีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดย สอศ.จะเผยแพร่บรรยากาศงานไปยังสถานศึกษาและสถานประกอบการให้ได้รับทราบ เพื่อขยายความร่วมมือร่วมกันต่อไป
2) การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” ที่ประชุมรับทราบโครงการดังกล่าว ซึ่ง สอศ.จัดขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเชิงการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้าง สรรค์ การบูรณาการองค์ความรู้ พร้อมนำไปประยุกต์ใช้งานจริงและเกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยแบ่งประเภทผลงานออกเป็น 11 ประเภทผลงาน และ 1 องค์ความรู้ และมีการประกวดใน 3 ระดับ คือ ระดับอาชีวศึกษาจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ โดยในปีนี้มีผลงานผ่านการคัดเลือกระดับอาชีวศึกษาจังหวัด 6,832 ผลงาน จากนั้นได้คัดเลือกให้เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ระดับภาค 2,309 ผลงาน และคัดเลือกผลงานเข้าสู่การประกวดระดับชาติ 220 ผลงาน เพื่อประกวดหาสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา ในระหว่างวันที่ 18-21 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ ทั้งนี้ภายในงานจะจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนอาชีวศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเปิดรับสมัครทีมจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนใน 4 ภูมิภาค เพื่อทำการคัดเลือกเข้าสู่การแข่งขันในระดับชาติต่อไป
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
1) โครงการติวเตอร์ แนะแนว การศึกษาต่อ สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน
– เพิ่มเวลารู้ สู่น้องชาวใต้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้สูงขึ้น สช.ได้ดำเนินการเปิดศูนย์ติวให้ความรู้ใน 5 วิชาหลัก (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา) จำนวน 9 ศูนย์ แก่นักเรียนชั้น ม.ปลายในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในระหว่างวันที่ 13-19 มกราคม 2559 โดยตลอดระยะเวลา 3 วัน มีนักเรียนจากจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา และสตูล เข้าร่วมจำนวน 7,105 คน
– แนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาสัญจร สานฝันสู่น้อง สช.ได้จัดให้มีการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยตั้งเป้าหมายจัดโครงการใน 60 โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนทราบแนวทาง วิธีการในการศึกษาต่อ และเปิดมุมมองใหม่ต่อการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ให้นักเรียนสามารถนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาที่ชอบ เกิดเป็นแรงบันดาลใจ และช่วยสร้างความมุ่งมั่น ตลอดจนทำให้มีเป้าหมายในชีวิต นอกจากนี้ยังให้ความรู้พื้นฐานการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมด้วย ซึ่งขณะนี้ได้จัดแนะแนวไปแล้ว 3 ครั้งใน 36 โรงเรียน
– Education for Change : การศึกษานำสู่การเปลี่ยนแปลง เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับนักเรียนที่มีผลการศึกษาตั้งแต่ 2.5 ขึ้นไป ให้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายจำนวน 5 รุ่นๆ ละ 250 คน ในการจัดติวให้ความรู้และเทคนิคเกี่ยวกับการทำข้อสอบ รวมทั้งข้อมูลการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจนสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และให้ความรู้พื้นฐานการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ขณะนี้ดำเนินการไปแล้วจำนวน 3 รุ่น
2) งบประมาณ ที่ประชุมได้รับทราบผลการติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามมาตรการกระตุ้นการ ลงทุนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการ ตามนโยบายของรัฐบาล ณ วันที่ 31 มกราคม 2559 จากระบบ GFMIS ที่กรมบัญชีกลางใช้ติดตามงบประมาณ โดยในภาพรวมกระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณ 6,246 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายได้ 5,525.14 ล้านบาท (ร้อยละ 92.08) นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีฯ 2559 ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับงบประมาณรวมจำนวน 517,076 ล้านบาท โดยในไตรมาสที่ 1 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 29 มกราคม 2559) มีผลการใช้จ่ายภาพรวมของกระทรวงจำนวน 195 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 37.01 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่ายตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบ ประมาณ
3) มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของบุคลากรภาครัฐ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 5/2559 ที่ได้เผยแพร่ทางเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาแล้วนั้น ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของการประเมินส่วนราชการระดับกรมและกระทรวง ข้าราชการพลเรือน ประเภทบริหารระดับสูง (ซี 10-11) ที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ “ผลงานในการทำงาน” ซึ่งขณะนี้ได้มอบให้ สป.ออกแบบการประเมินของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารไปจนถึงระดับผู้ปฏิบัติล่างสุดเท่าที่จะทำได้ ให้สอดคล้องกับแนวทางการประเมินทั้ง 3 ส่วน คือ 1) ประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานประจำหรืองานตามหน้าที่ปกติ 2) ประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ นโยบาย หรือภารกิจที่มอบหมายเป็นพิเศษแก่บางหน่วยงานหรือข้าราชการบางตำแหน่ง หน้าที่ 3) ประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามพื้นที่หรือการบูรณาการการปฏิบัติงาน หลายพื้นที่หรือหลายหน่วยงานเพื่อผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน พร้อมให้นำกลับมาเสนอภายใน 10 วัน เพื่อจะได้หารือแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารองค์กรหลักที่จะทำให้เกิดการยอมรับ ร่วมกัน จากนั้นจะนำมาใช้โดยเร็วที่สุด
การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้มอบให้ทุกกระทรวงพิจารณารายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญ และนำเสนอความคิดเห็นกลับไปให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้ จึงได้มอบให้ทุกองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับศึกษาข้อมูลของร่างรัฐธรรมนูญในทุกมาตรา ไม่เฉพาะมาตราด้านการศึกษาเท่านั้น พร้อมนำเสนอแนวความคิด ข้อคิดเห็น หรือข้อสังเกตต่างๆ รวบรวมนำมาเสนอภายในวันจันทร์นี้ เพื่อจัดส่งให้รัฐบาลต่อไป
โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประกอบด้วย 6 หมวด และบทเฉพาะกาล รวม 270 มาตรา ในส่วนของการศึกษาอยู่ในมาตรา 50 และได้มีการระบุไว้ในบทเฉพาะกาลด้วยว่า “ให้คณะ รักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีร่วมกันดำเนินการและผลักดันให้มีการ ปฏิรูปการศึกษาของชาติให้แล้วเสร็จ เพื่อให้เป็นไปตามหนาที่ของรัฐตามมาตรา 50 วรรคสองและวรรคสาม และให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามมาตรา 50 วรรคสี่ โดยเร็ว โดยจะต้องจัดทำแนวทางการปฏิรูปให้แล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้” หรือภายในเดือนสิงหาคม 2560 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ให้ทันกำหนดเวลา โดยขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้จัดทำร่างการปรับปรุงกฎหมายมาให้แล้วรวม 11 ฉบับ แต่ก็ต้องนำมาพิจารณาหารือภายในกระทรวงก่อนว่าจะทำได้เพียงใดอย่างไร เพราะผู้ปฏิบัติย่อมจะมองออกว่ากฎหมายเช่นนี้จะส่งผลดีเสียอย่างไร
ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2016/feb/056.html