นักวิชาการจุฬาฯ หนุน “บิ๊กหนุ่ย” ฟื้นซ้ำชั้น แต่ต้องช่วยเด็กเต็มที่ก่อนปล่อยตก แนะระดมหัวกะทิถกทางออก นักวิชาการจุฬาฯ-หนุน-บิ๊กหนุ่ย-ฟื้นซ้ำชั้น-แต่ต้องช่วยเด็กเต็มที่ก่อน

KRUPUNMAI SHARE

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า กรณี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุถึงแนวทางการทบทวนเรื่องการเรียนซ้ำชั้น ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะส่งผลต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น และหากปล่อยให้เด็กเลื่อนชั้นโดยที่ไม่พร้อม จะเป็นการทรมานเด็กนั้น เห็นด้วยกับนโยบายเรียนซ้ำชั้น แต่จำเป็นต้องทำให้รอบคอบ คือก่อนที่จะปรับเด็กให้ตก ต้องสอนซ่อมเสริมเด็กอย่างจริงจัง หรือต้องช่วยเหลือเด็กให้เต็มที่ก่อน อาจต้องนำเด็กที่เรียนอ่อนมาสอนสริมตัวต่อตัว ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่เคยมีใครทำ โดยต้องสังคายนาระบบประเมินวัดผลใหม่หมด ส่วนข้อดีของนโยบายเรียนซ้ำชั้น ได้แก่ 1.ทำให้วัฒนธรรมการปล่อยให้เด็กที่ไม่มีคุณภาพผ่าน มีความระมัดระวังมากขึ้น 2.ทำให้ต้องกลับมาทบทวนเรื่องการวัดประเมินผล เพราะก่อนหน้านี้เด็กถูกปล่อยปะละเลยมาก ไม่มีใครใส่ใจ โดยเฉพาะระบบการประเมินผลของโรงเรียนที่ใช้คะแนนจิตพิสัยช่วยจนเด็กผ่าน ทำให้เด็กคุณภาพไม่ถึงถูกปล่อยไปเยอะ และ 3.ทำให้เด็กตั้งใจเรียนมากขึ้น ส่วนข้อเสีย ได้แก่ 1.ถ้าไม่ทำนโยบายเรียนซ้ำชั้นให้ดี เด็กที่สอบตกอาจเกิดปมทางด้านจิตใจ 2.แบบทดสอบที่ให้เด็กทำมีคุณภาพ และมาตรฐานหรือไม่ และวัดผลได้จริงหรือไม่ และ 3.ครูลำเอียงในการให้คะเเนนหรือไม่ “จุดอ่อนอีกด้านในการประเมินผลคือ แบบทดสอบจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (สทศ.) และ สพฐ.ไม่เชื่อมโยง ไม่สัมพันธ์กัน อาจทำให้เด็กเกิดความสับสนได้ ดังนั้น ทั้ง 2 องค์กรดังกล่าวต้องมานั่งจูนกันแล้วในเรื่องวัตถุประสงค์การทำแบบทดสอบ นอกจากนี้ การปรับตกหากมีจำนวนมาก จะโยงไปสู่การประเมินคุณภาพผู้บริการสถานศึกษา ทั้งเรื่องการเลื่อนขั้น เลื่อนวิทยฐานะ และเลื่อนตำแหน่ง ดังนั้น เรื่องดังกล่าวต้องจัดสัมมนาระดับประเทศ โดยให้นักวิชาการที่เก่งๆ มานั่งถกกันเพื่อหาทางออก”นายสมพงษ์กล่าว ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 15 เมษายน 2559
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/article-78607-นักวิชาการจุฬาฯ-หนุน-บิ๊กหนุ่ย- ฟื้นซ้ำชั้น-แต่ต้องช่วยเด็กเต็มที่ก่อนป.html
นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า กรณี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุถึงแนวทางการทบทวนเรื่องการเรียนซ้ำชั้น ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะส่งผลต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น และหากปล่อยให้เด็กเลื่อนชั้นโดยที่ไม่พร้อม จะเป็นการทรมานเด็กนั้น เห็นด้วยกับนโยบายเรียนซ้ำชั้น แต่จำเป็นต้องทำให้รอบคอบ คือก่อนที่จะปรับเด็กให้ตก ต้องสอนซ่อมเสริมเด็กอย่างจริงจัง หรือต้องช่วยเหลือเด็กให้เต็มที่ก่อน อาจต้องนำเด็กที่เรียนอ่อนมาสอนสริมตัวต่อตัว ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่เคยมีใครทำ โดยต้องสังคายนาระบบประเมินวัดผลใหม่หมด ส่วนข้อดีของนโยบายเรียนซ้ำชั้น ได้แก่ 1.ทำให้วัฒนธรรมการปล่อยให้เด็กที่ไม่มีคุณภาพผ่าน มีความระมัดระวังมากขึ้น 2.ทำให้ต้องกลับมาทบทวนเรื่องการวัดประเมินผล เพราะก่อนหน้านี้เด็กถูกปล่อยปะละเลยมาก ไม่มีใครใส่ใจ โดยเฉพาะระบบการประเมินผลของโรงเรียนที่ใช้คะแนนจิตพิสัยช่วยจนเด็กผ่าน ทำให้เด็กคุณภาพไม่ถึงถูกปล่อยไปเยอะ และ 3.ทำให้เด็กตั้งใจเรียนมากขึ้น ส่วนข้อเสีย ได้แก่ 1.ถ้าไม่ทำนโยบายเรียนซ้ำชั้นให้ดี เด็กที่สอบตกอาจเกิดปมทางด้านจิตใจ 2.แบบทดสอบที่ให้เด็กทำมีคุณภาพ และมาตรฐานหรือไม่ และวัดผลได้จริงหรือไม่ และ 3.ครูลำเอียงในการให้คะเเนนหรือไม่ “จุดอ่อนอีกด้านในการประเมินผลคือ แบบทดสอบจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (สทศ.) และ สพฐ.ไม่เชื่อมโยง ไม่สัมพันธ์กัน อาจทำให้เด็กเกิดความสับสนได้ ดังนั้น ทั้ง 2 องค์กรดังกล่าวต้องมานั่งจูนกันแล้วในเรื่องวัตถุประสงค์การทำแบบทดสอบ นอกจากนี้ การปรับตกหากมีจำนวนมาก จะโยงไปสู่การประเมินคุณภาพผู้บริการสถานศึกษา ทั้งเรื่องการเลื่อนขั้น เลื่อนวิทยฐานะ และเลื่อนตำแหน่ง ดังนั้น เรื่องดังกล่าวต้องจัดสัมมนาระดับประเทศ โดยให้นักวิชาการที่เก่งๆ มานั่งถกกันเพื่อหาทางออก”นายสมพงษ์กล่าว
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/article-78607-นักวิชาการจุฬาฯ-หนุน-บิ๊กหนุ่ย- ฟื้นซ้ำชั้น-แต่ต้องช่วยเด็กเต็มที่ก่อนป.html

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า กรณี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุถึงแนวทางการทบทวนเรื่องการเรียนซ้ำชั้น ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะส่งผลต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น และหากปล่อยให้เด็กเลื่อนชั้นโดยที่ไม่พร้อม จะเป็นการทรมานเด็กนั้น เห็นด้วยกับนโยบายเรียนซ้ำชั้น แต่จำเป็นต้องทำให้รอบคอบ คือก่อนที่จะปรับเด็กให้ตก ต้องสอนซ่อมเสริมเด็กอย่างจริงจัง หรือต้องช่วยเหลือเด็กให้เต็มที่ก่อน อาจต้องนำเด็กที่เรียนอ่อนมาสอนสริมตัวต่อตัว ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่เคยมีใครทำ โดยต้องสังคายนาระบบประเมินวัดผลใหม่หมด ส่วนข้อดีของนโยบายเรียนซ้ำชั้น ได้แก่ 1.ทำให้วัฒนธรรมการปล่อยให้เด็กที่ไม่มีคุณภาพผ่าน มีความระมัดระวังมากขึ้น 2.ทำให้ต้องกลับมาทบทวนเรื่องการวัดประเมินผล เพราะก่อนหน้านี้เด็กถูกปล่อยปะละเลยมาก ไม่มีใครใส่ใจ โดยเฉพาะระบบการประเมินผลของโรงเรียนที่ใช้คะแนนจิตพิสัยช่วยจนเด็กผ่าน ทำให้เด็กคุณภาพไม่ถึงถูกปล่อยไปเยอะ และ 3.ทำให้เด็กตั้งใจเรียนมากขึ้น ส่วนข้อเสีย ได้แก่ 1.ถ้าไม่ทำนโยบายเรียนซ้ำชั้นให้ดี เด็กที่สอบตกอาจเกิดปมทางด้านจิตใจ 2.แบบทดสอบที่ให้เด็กทำมีคุณภาพ และมาตรฐานหรือไม่ และวัดผลได้จริงหรือไม่ และ 3.ครูลำเอียงในการให้คะเเนนหรือไม่

“จุดอ่อนอีกด้านในการประเมินผลคือ แบบทดสอบจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (สทศ.) และ สพฐ.ไม่เชื่อมโยง ไม่สัมพันธ์กัน อาจทำให้เด็กเกิดความสับสนได้ ดังนั้น ทั้ง 2 องค์กรดังกล่าวต้องมานั่งจูนกันแล้วในเรื่องวัตถุประสงค์การทำแบบทดสอบ นอกจากนี้ การปรับตกหากมีจำนวนมาก จะโยงไปสู่การประเมินคุณภาพผู้บริการสถานศึกษา ทั้งเรื่องการเลื่อนขั้น เลื่อนวิทยฐานะ และเลื่อนตำแหน่ง ดังนั้น เรื่องดังกล่าวต้องจัดสัมมนาระดับประเทศ โดยให้นักวิชาการที่เก่งๆ มานั่งถกกันเพื่อหาทางออก”นายสมพงษ์กล่าว

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

15 มี.ค.นี้ คุรุสภาเริ่มใช้ข้อบังคับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูใหม่

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @