มะละกอ ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้เกษตรไทย ซึ่งทั่วทุกภูมิภาค ต่างชื่อชอบในการทาน ส้มตำ มะละกอ หรือการทานมะละกอ สุก ที่ให้รสชาติ หอมหวาน
เทคนิคการทำให้มะละกอติดดก คุณภาพดี
1. การเตรียมดิน โดยการทำให้สภาพโครงสร้างของดินเป็นดิน ดินร่วนซุย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหาร เมื่อสภาพโครงสร้างพื้นฐานของดินที่ดีเมื่อใส่ปุ๋ยเคมี ต้นพืชก็ดูดปุ๋ยไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ถึงแม้กระนั้นก่อนปลูกเขาก็ยังรองพื้นขี้ไก่ไปอีกหลายร้อยกระสอบก็มาเตรียมต้นกล้าที่ดีพร้อมปลูก
2. โดยเลือกซื้อเมล็ดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยมีเทคนิคการทำให้ต้นกล้างอกดี งอกสม่ำเสมอด้วยการนำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่น 1 คืน และบ่มเมล็ดด้วยการห่อผ้าทิ้งไว้อีก 2-3 คืน เมื่อเมล็ดเริ่มงอกจึงนำมาเพาะในถุงดำ ต้นละ 3 เมล็ด แล้วคลุมพลาสติกดำไว้อีก 5 วัน เมื่อเปิดพลาสติกดำออกมาต้นกล้าจะงอกอย่างสวยงามเลยทีเดียว เมื่อต้นกล้าอายุ 45 วันจึงนำไปปลูกลงแปลง คุณปรีชาบอกว่า มะละกอแปลงนี้มีอยู่ประมาณ 1,500 ต้น ใช้ระยะปลูก 2.7×3 เมตร เมื่อต้นมะละกอออกดอกอายุ 2-3 เดือน จึงคัดเพศ เลือกต้นกระเทยไว้ ตามหลักการปลูกมะละกอทั่วไป
3. สำหรับการใส่ปุ๋ยช่วงแรกใส่ปุ๋ยขี้ไก่รองพื้นก่อนปลูก จากนั้นก็ให้ 15-0-0 ทุก 15 วัน หลังคัดเพศ อายุประมาณ 3 เดือน เปลี่ยนมาใส่ 8-24-24 สลับกับ 14-7-35 หรือ 15-5-20 ทุก 15 วัน ปริมาณปุ๋ยที่ให้ไม่มาก 8 ไร่ ใส่เพียง 100 กก.หรือ ปุ๋ย 2 กระสอบ นั่นเพราะสภาพโครงสร้างของดินที่ดีตั้งแต่ก่อนปลูก และเขาให้ความสำคัญอย่างมากกับโครงสร้างดินที่ร่วนซุยด้วยการใส่ขี้ไก่ทุก 2 เดือนต้นละ 2 กก./ครั้ง ซึ่งที่นี่ค่อนข้างได้เปรียบเพราะมีฟาร์มเลี้ยงไก่เยอะ คุณปรีชาจะไปเหมาเล้าเลย เล้าละ 5-6 พันบาท กรอกถุงได้ประมาณ 800-900 ถุงปุ๋ย ส่วนทางใบพ่นปุ๋ยเกร็ด 0-52-34 อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สลับกับปุ๋ยเกร็ด 30-20-10 พ่นทุก 7 วันร่วมกับธาตุอาหารเสริมแคลเซียม-โบรอนที่ให้อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าไม่มีคนปลูกมะละกอคนไหนให้ปุ๋ยมากขนาดนี้อย่างแน่นอนค่ะ แต่นี่คือการลงทุนที่เกินคุ้มค่ะ ส่วนโรค-แมลงก็จะควบคุมอย่างต่อเนื่อง โดยแมลงก็ใช้เพียงอิมิดาคลอพริดพ่นสลับกับคาร์โบซัลแฟน หรือถ้าเจอแมลงระบาดก็จะจัดการเป็นตัวๆไป ยากันราก็ใช้แมนโคเซ็บกับคาร์เบนดาซิมยืนพื้น มีคอปเปอร์มาพ่นสลับบ้าง และถ้ามีปัญหาก็จะว่ากันไปตามการระบาด
โดยธรรมชาติมะละกอจะออกดอกหลังจากผ่านหน้าหนาวมาได้ระยะหนึ่งการจะทำให้มะละกอติดลูกดี ลูกไม่ขาดขอ ต้องใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยสูตรเสมอ นอกจากนั้นเราต้องเอาฟางมาคลุมใต้โคนเพื่อไม่ให้โคนแห้งจนเกินไปและควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ มะละกอจะออกลูกอย่างต่อเนื่อง
แต่ถ้าต้องการปลูกมะละกอนอกฤดูนั้นเราควรที่จะปลูกมะละกอในช่วงก่อนที่จะเข้าพรรษาเมื่อถึงเดือน 11 คือเดือนพฤศจิกายนให้ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตัวกลางและตัวท้ายสูงคือฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม นั่นเอง มะละกอจะออกลูกประมาณเดือนพฤษภาคม
ถ้ามีต้นมะละกอที่ปลูกไว้แล้วเราก็สามารถทำให้ต้นมะละกอเหล่านั้นกลับมาสาวใหม่ด้วยการบำรุงต้น ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ตัดยอดออก อีกไม่นานก็จะมียอดใหม่ออกมาซึ่งสามารถจะเก็บผลผลิตต่อไปได้อีก 2 ปีเลยที่เดียว และมีผลผลิตเก็บขายในช่วงที่ราคาแพงได้ด้วย