ปรับเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะครู เพื่อให้สังคมเห็นคุณค่า

KRUPUNMAI SHARE

4 ก.ค. 59  พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคคลากรทางการ ศึกษา (ก.ค.ศ.) ว่า ตามที่ มาตรา 55  ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 กำหนดให้มีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพเป็นระยะ ๆ เพื่อดำรงไว้ ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่ง  โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

แต่ขณะนี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์และการประเมินให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ตนจึงได้มอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ปฏิบัติตามมาตรา 55 โดยไปปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิทยฐานะ และให้ไปคิดหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคงไว้ซึ่งวิทยฐานนั้น
          
รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเราต้องจ่ายเงินตำแหน่งวิทยฐานะ ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีวิทยฐานะ ซึ่งรัฐบาลต้องใช้งบประมาณปีละ 21,000 ล้านบาททุกปี

             จำแนกเป็น  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
                     ซึ่งมีตำแหน่ง วิทยฐานะชำนาญการ  ประมาณ 108,000 คน 
                                         ชำนาญการพิเศษประมาณ  222,000 คน
                                         เชี่ยวชาญ  894 คน
                                         เชี่ยวชาญพิเศษ 1 คน
                                         และไม่มีวิทยฐานะ  72,000 คน
               ส่วนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
                                         มีชำนาญการ  599 คน 
                                         ชำนาญการพิเศษประมาณ  1,200 คน 
                                          เชี่ยวชาญ 53  คน  แต่ไม่มีผู้ได้รับวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ 
               ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มี
                                          ชำนาญการ  ประมาณ  6,889  คน 
                                           ชำนาญการพิเศษประมาณ  5,658 คน
                                           เชี่ยวชาญ  122 คน ไม่มีวิทยฐานะ 2,600 คน

อย่างไรก็ตาม สำหรับเงินค่าวิทยฐานะในแต่ละระดับ มีดังนี้  วิทยฐานะชำนาญการ 3,500 บาท  ชำนาญการพิเศษ 5,600 บาท  เชี่ยวชาญ  9,900 บาท เชี่ยวชาญพิเศษ   15,600 บาท 
               
"ยืนยันว่าผมไม่มีแนวคิดที่จะยกเลิกวิทยฐานะ แต่ผมทำเพื่อปกป้องวิทยฐานะให้ครู และทำเพื่อให้สังคมเห็นคุณค่าของวิทยฐษนะที่ครูมี  ไม่ให้โจมตีได้ว่าครูรับเงินวิทยฐานะไปแล้ว ละทิ้งห้องเรียน หรือคุณภาพผู้เรียนลดลง ผมจึงต้องทำให้วิทยฐานะนี้ยั่งยืน ซึ่งต่อไปการได้รับวิทยฐานะที่สูงขึ้นต้องมีผลโดยตรงต่อคุณภาพผู้เรียนอย่าง ไร ซึ่งครูผมพร้อมที่จะถูกประเมินอยู่แล้ว ส่วนหลักเกณฑ์ใหม่นี้จะมีระบบการประเมินและการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ อะไรที่เป็นสิ่งใหม่ผมต้องสร้างการยอมรับทั้งจากผู้ประเมิน และผู้ถูกประเมิน ผมจึงให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ไปเร่งยกร่างแบบทดสอบวิธีการและหลักเกณฑ์การประเมินมาเสนอให้ ก.ค.ศ.พิจารณาแล้ว คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในปีหน้า" พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าว 
          
ด้านนายพินิจศักดิ์ สุวรรณรงค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาสำนักงาน ก.ค.ศ. เคยยกร่างหลักเกณฑ์การประเมินตามมาตรา 55 ไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการ  อย่างไรก็ตาม ก่อนประกาศใช้ ผู้ถูกประเมินจะต้องรับรู้ร่างหลักเกณฑ์การประเมินนี้ก่อน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการศธ. กำชับว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องยอมรับกับหลักเกณฑ์นี้ด้วย เพราะในมาตรา 55 กำหนดไว้ว่า กรณีที่ไม่ผ่านการประเมินให้ ก.ค.ศ. ดำเนินการตามความเหมาะสม  ดังนี้

         1 พัฒนาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานได้ 
         2.หากไม่สามารถพัฒนาได้ตามระยะเวลา และหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะงดเงินประจำตำแหน่งหรือเงินวิทยฐานะและแต่กรณี และ
         3. กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

15 มี.ค.นี้ คุรุสภาเริ่มใช้ข้อบังคับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูใหม่

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @