การบริจาคเลือด นอกจากที่ได้บุญ ได้กุศล แล้ว ผลจากการบริจาค ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริจาคเลือด เม็ดเลือดแดงที่สร้างมาใหม่ ถ่ายเทเลือดเก่าออกไป ทางสภากาชาดไทยได้แนะนำขั้นตอนการบริจาคเลือดดังนี้
คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ ( ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)3. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต-นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม-รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้-ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค-งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
ขณะบริจาคโลหิต-สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว-เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า-ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล-ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต-ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที-หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
หลังบริจาคโลหิต-ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน-หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต-ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูงจนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม-ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล-ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
ข้อดี! การบริจาคเลือด
หลายคนไม่รู้เรื่องนี้ ข้อมูลทางสภากาชาดระบุเอาไว้น่าสนใจถึงข้อดีใจการบริจาคเลือดว่า
1. ร่างกายแข็งแรง หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าสุขภาพโดยรวมของผู้บริจาคเลือดดีกว่าคนที่ไม่เคยบริจาคเลือด เลือดที่เสียไปจะไม่เป็นผลเสียต่อร่างกายของเราเลย ซ้ำยังทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงตามมาอีกด้วย
2. ผิวดี หน้าใส ออร่าเปล่งประกาย วิ้งๆ สาวๆ หลายคนมีความเชื่อกันแบบผิดๆ ว่า ถ้าเราไปบริจาคเลือด ต้องอ้วนขึ้นแน่ๆ เลย ตัดความเชื่อแบบผิดๆ นี้ออกไปจากสมองเราได้เลย จริงๆ แล้วการบริจาคเลือดไม่ได้ทำให้อ้วน แต่กลับทำให้ผู้บริจาคมีรูปร่างที่ดีขึ้น หุ่นเพรียวยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล และยังช่วยให้หน้าใส เปล่งประกาย วิ้งๆ แบบไม่ต้องพึ่งการฉีด หรือการกินวิตามินคอลลาเจนต่างๆ กันเลย ง่ายๆ แค่บริจาคเลือดก็ทำให้มีผิวพรรณสดใสได้เหมือนกัน
3. ห่างไกลมะเร็ง ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริจาคเลือดมีแนวโน้มจะมีอายุยืน หรือมีโอกาสตายจากโรคต่างๆ น้อยกว่าผู้ที่ไม่บริจาคเลือด นอกจากนี้การบริจาคเลือดมีส่วนลดความเสี่ยงจากมะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งคอหอย ในผู้บริจาคเลือด

4. จิตใจดี รู้สึกดี การบริจาคเลือด จะให้ความรู้สึกดี ความรู้สึกว่าเป็นผู้ให้ ได้ทำทาน ได้ช่วยชีวิตคน ทำให้เรารู้สึกสุขใจเพราะได้ช่วยชีวิตผู้อื่นด้วย เรียกได้ว่าเป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่ง เป็นการต่อชีวิตที่ส่งผลให้ใครหลายๆ คน มีชีวิตรอดปลอดภัย
ทั้งนี้ บริจาคได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถ.อังรีดูนังต์ ส่วนภูมิภาคบริจาคโลหิต ได้ที่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติจังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลก อุบล ราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ชลบุรี ราชบุรี สงขลา ภูเก็ต และงานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต โทร. 0-2256-4300, 0-2263-9600-99 ต่อ 1101
ขอบคุณข้อมูล : สภากาชาดไทย