ชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่องการบวก การลบ และการคูณทศนิยม

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่องการบวก การลบ และการคูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย        นางชนิสรา อริยะเดชช์หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ปีที่วิจัย      2559

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคTAI เรื่องการบวก การลบ และ การคูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่องการบวก การลบและการคูณทศนิยม ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เรื่องการบวก การลบและการคูณทศนิยม ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล วัดเหนือเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)ซึ่งการจัดห้องเรียนคละความสามารถของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคTAI เรื่องการบวก การลบและการคูณทศนิยม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแผนการจัดการเรียนรู้ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เรื่องการบวก การลบและการคูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่องการบวก การลบ และการคูณ ทศนิยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.30/82.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด () เท่ากับ 4.51 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.05

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

ตัวอย่างประกาศแต่งตั้งกรรมการประเมินข้อตกลง PA ไฟล์ Word

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @