ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นางสาวณัฐฎ์นันท์ นามศรีฐาน
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนดเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 43 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความยากระหว่าง 0.6 ถึง 0.8 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง0.26 ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8 และแบบทดสอบความพึงพอใจมีอำนาจจำแนกระหว่าง 0.43 ถึง 0.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบทดสอบค่าที
(t – test แบบ Dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.65/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ80.00/80.00
2. ค่าดัชนีประสิทธิ์ผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6995แสดงว่าผู้เรียนได้รับการพัฒนามีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 69.95
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเมื่อเรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกกรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากโดยสรุป นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA MODELมีผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนสูงขึ้นจากก่อนเรียน สามารถวิเคราะห์โจทย์ได้เป็นขั้นตอนตามหลักการได้เรียนรู้ถึงจุดที่ต้องสังเกตว่าขั้นตอนที่ทำให้นักเรียนคำนวณผิดคืออะไรและมีรู้สึกดีต่อการเรียนมากขึ้น ดังนั้นครูคณิตศาสตร์จึงควรนำชุดกิจกรรมไปใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนเพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยากและมีโจทย์คำนวณค่อนข้างมากจะทำให้สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
ดาวน์โหลดผลงานนวัตกรรม ฉบับเต็ม
ขอขอบคุณที่ให้การสนัับสนุน แบบตอบรับการเผยแพร่ผลงานวิชาการส่งกลับทีอีเมลล์