ชื่อเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี)
ผู้วิจัย นางเบญจพร ตาทอง
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) 2) สร้างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) 3) ทดลองใช้กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) และ 4) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) ซึ่งดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) จากการศึกษาวิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาวิเคราะห์ สภาพและปัญหาการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียน เทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี)โดยการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) จำนวน 40 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) โดยทดลองใช้ในโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งสิ้น จำนวน 27 คน และ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งสิ้น จำนวน 87 คน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) พบว่า องค์ประกอบของกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียน มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน 2) การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา 4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา และ 5) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
2. ผลการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) โดยการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ซึ่งเข้าร่วมการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ทั้ง 40 ท่าน ได้ตรวจสอบยืนยันรับรองกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา และ กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
3. ผลการทดลองใช้กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) ดังนี้
3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) ปีการศึกษา 2559 พบว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้ ร้อยละ 70 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ของปีการศึกษา 2559 สูงกว่า ปีการศึกษา 2558
4. ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) พบว่า กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และ ความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด