ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการ
หลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่องการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นางชนิสรา อริยะเดชช์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ส าหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการใน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริม ทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริม ทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้าง ความรู้บูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4)เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว ทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยผู้บริหาร จ านวน 8 คน ครูผู้สอน คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา จ านวน 6 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียน เทศบาลวัดเหนือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จ านวน 100 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) รวมทั้งสิ้น 114 คน กลุ่มที่ใช้ในการทดลองและศึกษาผลการใช้รูปแบบการ จัดการเรียนรู้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลบาลวัดเหนือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จ านวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการ หลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิด วิเคราะห์ 4) แบบประเมินการปฏิบัติตนตามหลักไตรสิกขา แล ะ5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X-Bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t – test แบบ Dependent samples) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้าง ความรู้บูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่พัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิด การ วิเคราะห์ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา มีความคิดอย่างมีเหตุมีผล มีความคิดสร้างสรรค์ แต่สภาพการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ของครูยังคงใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยาย นักเรียนท าแบบฝึกหัดจากหนังสือเรียน การใช้สื่อและการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ยังมีน้อยและนักเรียนส่วนใหญ่ ต้องการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริม ทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการหลัก ไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ การ จัดการเรียนรู้ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SI-PACA MODEL ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กระตุ้น ต่อมคิด (Starting Thinking : S) 2) เตรียมพิชิตโจทย์ (Introduction: I) 3) ขั้นสร้างสมาธิเพื่อเผชิญ สถานการณ์ปัญหา (Problem : P) 4) ขั้นคิดวิเคราะห์สร้างปัญญา ( Analysis : A) 5) ขั้นสร้างองค์ ความรู้สู่ปัญญา ( Construction : C) 6) ขั้นน าไปประยุกต์ใช้ด้วยปัญญา (Application : A ) รูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้โดยบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดวิเคราะห์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามรูปแบบ SI-PACA MODEL มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.25./87.30เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฎว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว้
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการหลัก ไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการ จัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณา การหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักไตรสิกขาโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (X= 3.37) และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ บูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การ หาร ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-Bar= 4.57) ด้านที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการ ประเมินผลในการเรียนรู้และด้านระยะเวลาในการเรียนรู้ ตามลำดับ