รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง              รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD

ผู้ศึกษา              นายจักรี   คนงาน

หน่วยงาน          โรงเรียนชุมชนบ้านหนองเลา  ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
                        สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2

ปีที่รายงาน         2560

 

บทคัดย่อ

 

            ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนชุมชนบ้านหนองเลา  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  โรงเรียนชุมชนบ้านหนองเลา  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  โรงเรียนชุมชนบ้านหนองเลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   ภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา  2560  โรงเรียนชุมชนบ้านหนองเลา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา  เขต 2  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  1  ห้องเรียน  รวม  9  คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  จำนวน 15 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ                  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วย แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t)

 

            ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า

 

                     1.    แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  คะแนนการทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 14.22  และคะแนน การทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ  26.11   และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ร้อยละ 70             

                    2.   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @