หัวข้อรายงาน : รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียนสาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวจันทนา สพานรัตน์
ประเภทผลงานทางวิชาการ : ผลงานวิจัย
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนสาระภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์80/80 (2) เพื่อศึกษาผลผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนกับเกณฑ์เป้าหมายของโรงเรียนซึ่งได้กำหนดไว้ร้อยละ 75 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนอนุบาลเมืองชุมพรวัดสุบรรณนิมิตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษาที่ 2558 จำนวน 33 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์ เอกสารประกอบการเรียนสาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเมืองชุมพร วัดสุบรรณนิมิตร ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เล่มที่ 1 เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เล่มที่ 2 เรื่อง เส้นแบ่งเวลา วัน เวลาของประเทศไทยกับทวีปต่าง ๆ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เล่มที่ 3 เรื่อง ภัยธรรมชาติ และการเฝ้าระวังภัยที่เกิดในประเทศไทย ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เล่มที่ 4 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของทวีปเอเชีย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เล่มที่ 5 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เล่มที่ 6 เรื่อง ความร่วมมือของประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เล่มที่ 7 เรื่อง ทำเลที่ตั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เล่มที่ 8 เรื่อง ลักษณะทางกายภาพและสังคมของประเทศไทย หน่วย การเรียนรู้ที่ 9 เล่มที่ 9 เรื่อง ลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปเอเชีย หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 เล่มที่ 10 เรื่อง ลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าร้อยละ (Percent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนสาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.62/80.23เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ที่ตั้งไว้
2. ผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนได้ค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 20.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (
) เท่ากับ 2.15 และหลังเรียนได้ค่าเฉลี่ย (
) เท่ากับ 32.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (
) เท่ากับ 3.01
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนได้ร้อยละ 81.80 สูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดร้อยละ 75
ผลงานวิชาการ