ชื่อเรื่อง การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1
ผู้รายงาน นายวิทยา พิทักษ์เนติกุล
ปีที่ทำการศึกษา 2560
สังกัด โรงเรียนอนุบาลบ้านแพ้ว (วันครู 2500)
อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
โดยใช้การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียน และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรม
เสริมประสบการณ์นอกห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 / 4 โรงเรียน
อนุบ าลบ้านแพ้ว (วันครู 2500) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษ าประถมศึกษ าสมุทรสาคร
ที่ก าลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน โดยใช้วิธีการดำเนินการการสุ่ม
ตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยยึดเนื้อหาตามหลักสูตร
การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และแนวการจัดประสบการณ์ ระดับปฐมวัย ของชั้นอนุบาล
ปีที่ 1 คือ สาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว จำนวน 12 หน่วยการเรียนรู้36 แผนการจัด
ประสบการณ์ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ระหว่างวันที่
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ถึง วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน
วันละ 1 แผนการจัดประสบการณ์ระยะเวลาในการจัดประสบการณ์30 นาทีโดยใช้กิจกรรมเสริม
ประสบการณ์ ช่วงเวลา 09.00 -09.30 น. แบบแผนการศึกษา คือ One Group Pretest Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์
นอกห้องเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 1จ านวน 12 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ละ3 กิจกรรม กิจกรรมละ30นาที
2) แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย จำนวน 20 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที(t–test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ก่อนการใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียน เด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X-Bar = 12.39) ภายหลังการใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียน เด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-Bar = 18.64) และเมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ทักษะการสังเกตอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 3.91) ทักษะการจ าแนกประเภทอยู่ในระดับมากที่สุด (X-Bar= 3.88) ทักษะการวัดอยู่ในระดับมากที่สุด (X-Bar= 3.85) ทักษะการสื่อความหมายอยู่ในระดับมากที่สุด (X-Bar = 3.58) และทักษะการลงความเห็นข้อมูลอยู่ในระดับมากที่สุด (X-Bar= 3.42)
2. หลังการใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียน เด็กปฐมวัยมีคะแนน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียน ทั้งโดยรวมและจำแนกเป็นรายทักษะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05