ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้
SAWTHONGNA Model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา นางธนัญญ์ฎา บึงไกร โรงเรียนปรางค์กู่
สำนักงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ SAWTHONGNA Model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ SAWTHONGNA Model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ SAWTHONGNA Model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่พัฒนาขึ้น 3.1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ หลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบปกติ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ขั้นศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระยะที่ 2 ขั้นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ SAWTHONGNA Model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ศึกษา รวมนักเรียนทั้งสิ้น 750 คน จำนวน 13 ห้องเรียน จากจำนวน 6 โรงเรียน ในสหวิทยาเขตปรางค์กู่ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม แล้วสุ่มห้องเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ SAWTHONGNA Model กลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามรูปแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า ครูส่วนใหญ่จัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก กระบวนการเรียนรู้ไม่สนับสนุนให้นักเรียนฝึกคิด สังเคราะห์ เชื่อมโยงและสร้างความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลนักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ขาด
การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ไม่เอื้อต่อการให้นักเรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติ รวมถึงแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ซึ่งส่งผลต่อผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพจากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 73.87/74.79 และเมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพจากคะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเท่ากับ 71.37/76.77
ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า
1) การมีความคิดสร้างสรรค์มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
2) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01