การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจ หลักภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจ
                   หลักภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย           นางประนอม  ลายรัตน์

ปีที่ทำวิจัย    2560


                                                         บทคัดย่อ


                       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีม
เพื่อส่งเสริมความเข้าใจหลักภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีม  3) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจหลักภาษาไทยก่อนและหลังการเรียนตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีม และ 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีมที่พัฒนาขึ้น  

                      การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนสอนหลักภาษาไทย   ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบ สร้างและปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีม โดยนำกระบวนการ lesson study มาใช้ ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีพัฒนาขึ้นไปใช้  และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างเป็นครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา โดยในขั้นตอนการสร้างและพัฒนา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นครู จำนวน 6 คน  กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนการนำรูปแบบไปใช้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจในการเรียนเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และประมินความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยครูผู้ให้ข้อมูลจำนวน 6 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาการสอนหลักภาษาไทย การสนทนากลุ่ม แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบเรียนเล่นเป็นทีม จำนวน 7 แผน แบบสังเกตชั้นเรียน แบบทดสอบวัดความเข้าใจหลักภาษาไทย แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที แบบ dependent t-test  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสรุปประเด็น

    ผลการวิจัยพบว่า  

                    1. รูปแบบกิจกรรมเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจหลักภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์

เนื้อหา  ขั้นตอนกิจกรรม และการวัดและประเมินผล โดยขั้นตอนกิจกรรมมี  7 ขั้นตอน หรือ PIT-ACCT ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียม (Preparation: P)  2) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction: I) 3) ขั้นศึกษาในทีม (Team Study: T) 4) ขั้นเล่นเกมเพื่อการเรียนรู้ (Academic Game: A)  5) ขั้นตรวจสอบผลการเล่น (Check: C) 6) ขั้นสรุปเนื้อหา (Conclusion: C) และ 7) ขั้นทดสอบ (Test : T)


                  2. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจหลักภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.14/82.11

                  3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีม มีคะแนนความเข้าใจหลักภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01    

                  4) นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีมมีระดับความพึงพอใจในการเรียนระดับมากที่สุด  ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเรียนเล่นเป็นทีมโดยครูที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก

 

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @