ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ เพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา นางพันทิพา ปัจจังคะตา
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านหัวหมู ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
ทักษะชีวิตเป็นความสามารถในการปรับตัวและพฤติกรรมที่ถูกต้อง ที่ส่งผลให้บุคคลมีความสามารถจัดการกับความต้องการและสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษา
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านหัวหมู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบจดบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสังเกต และแบบจดบันทึกการประชุม เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 2) เอกสารประกอบการเรียนรู้ จำนวน 10 เรื่อง 3) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ และเอกสารประกอบการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง .๖๐-๑.๐๐ ค่าความยากอยู่ระหว่าง .43-.72 ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .33-.67 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ t-test แบบ Dependent Sample
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน พบว่า โรงเรียนมีการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น การจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมุ่งเน้นเนื้อหาสาระสอดคล้องกับการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาด้วยวิธีการที่หลากหลาย นักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนได้มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน
สภาพปัญหา พบว่า การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีขาดความหลากหลาย ไม่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ครูมีจำนวนจำกัดและมีภาระหน้าที่ในงานอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียนทำให้การบริหารจัดการเรียนรู้ไม่บรรลุเป้าหมายและขาดความต่อเนื่อง นักเรียนมีพฤติกรรมเบื่อหน่าย เฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้นในการเรียน ขาดสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานของตนเอง ด้านความต้องการ พบว่า ต้องการให้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต โดยผสมผสานวัฒนธรรมของท้องถิ่นและความเป็นท้องถิ่นกับความสามารถในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้
2. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 86.71/86.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
3. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเฉลี่ยต่อคนเท่ากับ 15.07 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 50.23 และหลังเรียนรู้โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยต่อคนเท่ากับ 25.89 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.71 ซึ่งแตกต่างจากคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัด
การเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เท่ากับ 25.89 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.13 ดังนั้น คุณภาพ
การจัดการเรียนรู้จากค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (Coefficient of Variation) จึงเท่ากับ 5.13
ซึ่งหมายความว่าคุณภาพการสอนอยู่ในระดับดีเยี่ยม
5. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะ
งานอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 0.7248 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 72.48
6. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะ
งานอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านสื่อ/อุปกรณ์การเรียน (
= 4.58) และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (
= 4.55) และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา (
= 4.49) และด้านการวัดและประเมินผล (
= 4.48)
โดยสรุป การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้มีจุดเด่น คือ การให้นักเรียนได้เรียนรู้เป็นกลุ่มขนาดเล็ก โดยทุกคนมีโอกาสได้ช่วยเหลือกันและกัน แสดงให้เห็นว่าเนื้อหาและกิจกรรมที่ไม่ง่ายหรือยากเกินไป จะเหมาะสมแก่การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะงานอาชีพในเนื้อหาอื่น ๆ ได้ต่อไป ส่วนสิ่งที่ควรนำไปปรับปรุงพัฒนาครั้งต่อไป คือ ควรพัฒนาเป็นบทเรียนสำเร็จรูปและปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน มีกระบวนการวัดและประเมินผลให้หลากหลายมากขึ้น เน้นการมีส่วนร่วม การออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย การจัดภาพประกอบและใช้สีภาพที่เหมาะสม นักเรียนได้รับทราบผลการเรียนโดยทันทีซึ่งเป็นการเสริมแรงที่ดี