ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนวังดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
ปีการศึกษา 2560
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวขวัญศิริ บุญสรรค์
ระยะเวลาดำเนินงาน ปีการศึกษา 2560
__________________________________________________________________________________
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2560 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input ) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 4 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน ผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครูรวม 2 คน) รวมทั้งสิ้น จำนวน 55 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวังดอกไม้ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input ) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) โดยแบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.22 ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
1. การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวังดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิต (Product) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input )
2. การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียน รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายและแผนงานของโรงเรียน และเป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและผู้ปกครอง
3. การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input )โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก ได้แก่ แผนปฏิบัติการของโครงการมีความชัดเจน รองลงมาคือ ความสามารถของครูที่ปรึกษาในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และความเหมาะสมในการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพนักเรียน
4. การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวังดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ด้านกระบวนการ (Process)โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก ได้แก่ การดำเนินการตามแผนในการจัดตั้งศูนย์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน รองลงมาคือ การดำเนินการตามแผนของการส่งเสริมศักยภาพนักเรียน และการดำเนินการตามแผนการเยี่ยมบ้านนักเรียน
5. การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวังดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ด้านผลผลิต (Product)โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก ได้แก่ โรงเรียนได้ดำเนินให้ความรู้เรื่องระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้กับบุคลากร รองลงมาคือ ชุมชนให้ความร่วมมือ สนับสนุนกิจกรรมของโครงการ และโรงเรียนได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน