ชื่อวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบ PPFIFC เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางชนัญญา ประครองญาติ
ปี พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ PPFIFC 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ PPFIFC 4) ศึกษาความสามารถในการนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดป่าจิตตสามัคคี) จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ PPFIFC แบบประเมินความถูกต้อง และความเหมาะสมของรูปแบบ แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบ PPFIFC แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และแบบประเมินความความสามารถในการนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในระดับต่ำที่สุด 3 ทักษะ คือ การจำแนกประเภท การจัดกระทำและการตีความหมายข้อมูล และการสังเกต 2) รูปแบบ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบ PPFIFC มี 6 ส่วน คือ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้างหลักสูตร 4) เนื้อหาของหลักสูตร 5) กระบวนการพัฒนา 6) การวัดผลและประเมินผลการพัฒนา ซึ่งมีความถูกต้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) นักเรียนมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์อยู่ในระดับสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ PPFIFC สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความสามารถในการนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ไปใช้ ในชีวิตประจำวันสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ PPFIFC
การนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
Research Title Developing PPPFIFC Learning Experience Model for Enhancing Scientific Process Skills for 3rd Kindergarten Students
Author Mrs. Chanunya Prakrongyart
Year 2018
Abstract
The purposes of this research were 1) to study scientific process skills, 2) develop and improve efficiency of PPFIFC Learning Experience Model, 3) try out the PPFIFC Learning Experience Model, 4) investigate the ability for using scientific process skills in daily life. Sample was 3rd year kindergarten students, 20 people. Research instruments were evaluative form on scientific process skills, PPFIFC learning experience, evaluative form on accuracy and appropriateness, PPFIFC lesson plan, Scientific Process Skills Test, and evaluative form on ability for using scientific process skills in daily life. Data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test. The research found that 1) scientific process skills was at a low level of classifying, organizing data and communicating, and observing, 2) PPFIFC learning experience model consisted of 6 parts; 1) principle, 2) purpose, 3) curriculum structure, 4) curriculum content, 5) development process, and 6) development measurement and evaluation, which with a highest accuracy, and appropriateness, 3) scientific process skills of students after experiencing was higher significantly than before at .05, in addition, it was significantly higher than criteria 70 percentage at .05, 4) students are able to apply scientific process skills in their daily life higher significantly before experiencing at .05.
Keywords : Scientific Process Skills, PPFIFC Learning Experience Model