ผลการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้หนังสือภาพและเกมการศึกษา

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อผลงาน         ผลการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้หนังสือภาพและเกมการศึกษา

ผู้ศึกษา               นางยุพิน  นามจิต

ปีการศึกษา      2560

บทคัดย่อ

             คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้หนังสือภาพและเกมการศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพและเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกมการศึกษา หนังสือภาพ และแบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t – test

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผลการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้หนังสือภาพและเกมการศึกษา พบว่า นักเรียนมีคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ด้านจำนวนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.733 คิดเป็นร้อยละ 77.33 และมีค่า t เท่ากับ 8.93**  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการวัดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.00 คิดเป็นร้อยละ 80.00 และมีค่า t เท่ากับ 10.43** ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านเรขาคณิตมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.633 คิดเป็นร้อยละ 76.33 และมีค่า t เท่ากับ 7.08** ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.43 คิดเป็นร้อยละ 78.11 และมีค่า t เท่ากับ 11.44** ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงนักเรียนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าเกณฑ์ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 1
  1. ผลการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพและเกมการศึกษา พบว่า นักเรียนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 2
4/5 - (1 vote)

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @