ชื่อวิจัย การพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 5E เรื่อง มาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน
ผู้วิจัย นางประภาพิม จันทร์เขียว ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 “บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา”
อำเภอเมืองบุรีรัมย์ สังกัดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 5E เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน (2) สร้างและพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 5E เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เปรียบเทียบผลการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 5E เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 5E
เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน เครื่องมือในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 5E จำนวน 16 แผน เวลาเรียน 16 ชั่วโมง (2) แบบฝึกทักษะ จำนวน 16 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางกางเรียน จำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ ที่นำมาใช้กับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 “บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา” อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 41 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การพรรณนาวิเคราะห์ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าประสิทธิผล และทดสอบค่า t (Dependent samples) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
- สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา พบว่า เนื้อหาที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ หน่วยที่ 3 เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มากที่สุด ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนวิชาภาษาไทย ขาดปัจจัยซื้อหนังสือเสริมประสบการณ์ ครูส่วนใหญ่สอนไม่ตรงสาขากับวิชาเอก ร้อยละ 70 มีภาระสอนมากเกิน 22 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีงานพิเศษค่อนข้างมาก แนวทางแก้ไขปัญหา คือ ครูควรมีการพัฒนาการสอนด้วยรูปแบบการสอนสืบเสาะหาความรู้ 5E โดยใช้สื่อแบบฝึกทักษะ
การอ่านและเขียน เพราะกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ มีการขยายความรู้ด้วยสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติมที่ดีและกระบวนการกลุ่มตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
- การสร้างและการพัฒนาการเรียนรู้ คือ หลักการของรูปแบบการสอนสืบเสาะ
หาความรู้ 5E เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E และการประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อนำไปทดลองใช้
พบว่า (1) การทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.88/75.83 ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 จึงควรนำไปปรับปรุงแก้ไข รูปแบบการสอน (2) การทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 25/80.56 เท่ากับเกณฑ์ 80/80 ควรปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง (3) การทดลองแบบภาคสนาม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.09/82.79 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และ (4) การพัฒนากับกลุ่มตัวอย่าง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.82/84.57 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเฉลี่ยรวมเท่ากับ 75.08 เท่ากับเกณฑ์ 70 หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้อยู่ในระดับดี - ผลเปรียบเทียบการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 5E โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยรวมทั้ง 16 เรื่อง สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .014. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 5E โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้าน 4 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการได้รับความรู้จากการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ของนักเรียน และด้านการสอนสืบเสาะหาความรู้ 5E มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน