รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์(ลือวิทยาสิทธิ์)

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง                 รายงานการประเมินโครงการ  ระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์(ลือวิทยาสิทธิ์)

ผู้รายงาน              นางวรียา   อีสเฮาะ

ปีที่รายงาน           ปีการศึกษา  2560

______________________________________________________________________________

                                                     บทสรุป

                 รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา  เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์(ลือวิทยาสิทธ์) ปีการศึกษา 25600  ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม  ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านกระบวนการดำเนินงาน  และด้านผลผลิตของโครงการ  โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์  (CIPP  Model)  มาใช้ในการประเมิน  โดยมีวิธีการประเมิน  3  ลักษณะ  คือ  การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น  ใช้ผลการประเมินจากแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และใช้ผลการประเมินแบบบันทึกผลการระดมทรัพยากรตามสภาพจริงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย  ประชากรครู จำนวน  6  คน  กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน  28  คน  กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน  25  คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน  7  คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วย  แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating  Scale)  5  ระดับ  และมีข้อคำถามปลายเปิด  จำนวน  5  ฉบับ  ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ  โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง  .803 – .920  แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากร  จำนวน 4 ด้าน  และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา2560ของโรงเรียน  ใช้บันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  โดยใช้โปรแกรม SPSS  (Statistical  Package  for  the  Social  Sciences)  for  Window  v. 23  ผลการประเมินพบว่า

  1. ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context)  ในการดำเนินโครงการ

ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม  (Context)  ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์(ลือวิทยาสิทธิ์) ปีการศึกษา 2560  ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย  15  คะแนน  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน  พบว่า  ความคิดเห็นของครู  มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  (µ= 4.33, . = .59)  ได้คะแนนเฉลี่ย  15  คะแนน  ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีความเหมาะสมในระดับมาก มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  (= 4.25, S.D. = .45) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน   ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น

  1. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์(ลือวิทยาสิทธิ์) ปีการศึกษา 2560 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์  ตามความคิดเห็นของครู  มีความเหมาะสมในระดับมาก  (µ = 4.20, . = .46)  ได้คะแนนเฉลี่ย  15  คะแนน  ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
  2. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์(ลือวิทยาสิทธิ์) ปีการศึกษา 2560 ตามประเด็นตัวชี้วัด  ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์  ตามความคิดเห็นของครู  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน  ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า  ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ  = 4.40, . = .51) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = .48) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเช่นกัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.37, S.D. = .50) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
  3. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์ (ลือวิทยาสิทธิ์) ปีการศึกษา2560 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น  ได้แก่

4.1 ปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 4 ด้าน ได้แก่

4.1.1 การระดมทรัพยากรด้านบุคคลหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา  เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์ (ลือวิทยาสิทธิ์)   ปีการศึกษา  2560  รวมทั้งสิ้น  23 รายการ  ครอบคลุมการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้น  ตามความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.1.2 การระดมทรัพยากรด้านเงินทุนของ โครงการระดมทรัพยากร     ทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์ (ลือวิทยาสิทธิ์)  ปีการศึกษา  2560  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา  สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน  ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษา  และของผู้รับบริจาค  ปีการศึกษา  2560  เป็นเงิน  544,603บาท  (ห้าแสนสี่หมื่นสี่พันหกร้อยสามบาทถ้วน) ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.1.3 การระดมทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดิน  และสิ่งก่อสร้าง ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์ (ลือวิทยาสิทธิ์) ปีการศึกษา  2560  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน  ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษาและ ของผู้รับบริจาค  ปีการศึกษา 2560 รวมทั้งสิ้น  16 รายการ  เป็นเงิน  463,000  บาท  ส่งผลให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสูงขึ้นผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.1.4 การบริหารจัดการ  โรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์ (ลือวิทยาสิทธิ์)สามารถบริหารจัดการ โดยส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา ตามโครงสร้างโรงเรียนนิติบุคคล ครอบคลุมทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ  งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป อย่างต่อเนื่อง  ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.2  แสดงผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ  งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป  ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา  เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์ (ลือวิทยาสิทธิ์) ปีการศึกษา 2560  ตามความคิดเห็นของครู  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และผู้ปกครอง ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน  เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน  พบว่า  ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  (µ = 4.39, . = .61) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด  รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก              ( = 4.31, S.D. = .54) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.26, S.D. = .58) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

4.3  แสดงผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา  ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์ (ลือวิทยาสิทธิ์)   ปีการศึกษา  2560  พบว่าทั้ง 4มาตรฐาน  มีผลการประเมินในทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยุ่ในระดับดีมาก และดีเยี่ยม

4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดธรรมประดิษฐ์(ลือวิทยาสิทธิ์)  ปีการศึกษา 2560    ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.48, S.D. = .36) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่  ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.40, = .42) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด  ส่วนนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.33, S.D. = .40) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน  ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

 

                ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
    • โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น  จุดด้อย  จุดที่ควร

พัฒนา  เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

  • ผู้บริหาร ครู  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และผู้ปกครอง  มี

ความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการ  ดังนั้นจึงควรมีการประชาสัมพันธ์  เผยแพร่ชื่อเสียง  ผลงานของบุคคล  กลุ่มบุคคล  หน่วยงาน  ที่ให้การช่วยเหลือ  สนับสนุนโครงการด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม

  • ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

หรือหน่วยงานอื่นๆ  และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง

  1. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
    • ให้มีการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดความประสิทธิภาพ
    • ให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นของทรัพยากรทางการศึกษาเป็นรายด้านเพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง
    • ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรการทางศึกษาตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @