รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด วิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง              รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด วิเคราะห์
โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6
สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย                นางเพ็ชรชุมพวง  สุวรรณศรี

ตำแหน่ง            ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียน            สาหร่ายวิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา

ปีการศึกษา       2561

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียน ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดย        การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.43 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.65 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rtt) เท่ากับ 0.93 และ  4) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ ชนิดอัตนัย จำนวน 10 ข้อ มีค่าดัชนีความยาก (PE) ตั้งแต่ 0.43 ถึง 0.68 ค่าดัชนีอำนาจจำแนกรายข้อ (D) ตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.62 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ () เท่ากับ 0.93 และ 5) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัด       การเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยการจัด            การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับ        จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ () เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่     ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติที t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัย

ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยการจัด      การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ดังนี้

  1. ผลการทบทวนหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.62/81.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
  2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6 สาระ การเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  4. ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, S.D. = 0.66)

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาดินแดนแห่งอัตลักษณ์พื้นภูมิเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @