ชื่อเรื่อง | การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปน เรียน เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 |
ชื่อผู้วิจัย | นางวนิดา วัชรมานะกุล |
สถานศึกษา | โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) |
ปีที่ทำการ วิจัย |
ปีการศึกษา 2561 |
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 32)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน ดังนี้ตรวจสอบรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียนที่พัฒนาขึ้น โดยหาประสิทธิภาพของรูปแบบตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตลอดจนศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู จำนวน 11 คน เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 25 คน แบบวิจัยใช้แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1)รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน แบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย() ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) การหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน(E1/E2)ค่าความสอดคล้องของรูปแบบ (IOC) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเที่ยง (KR – 20) และ ()
ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า สภาพปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ยังมีปัญหาและต้องการพัฒนาเพิ่ม ในระดับมากโดยเด็กปฐมวัยมีความต้องการรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ในระดับมากที่สุด
2) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และ 4) การวัดและประเมินผลโดยมีกระบวนการจัดประสบการณ์ตามขั้นตอนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1) ขั้นกระตุ้นเร้าความสนใจ (Stimulus : S) 2) ขั้นนำเสนอบทเรียน (Pre-Presentation) 3) ขั้นลงมือปฏิบัติกิจกรรม (Action) 4) ขั้นซ้ำย้ำทวน (Repeat) 5) ขั้นแลกเปลี่ยนและแสดงภาษาเป็นผลงาน (Reciprocation and Present) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ผลการทดลองใช้ พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 73.61 / 71.67, 76.38 / 75.28,และ 83.61 / 82.16 ตามลำดับและผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบมีความเหมาะสมมาก
4) ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ได้ผล ดังนี้
4.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปน
เรียน เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 เท่ากับ 84.83 / 83.50
4.2 ทักษะการฟัง ก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษา
แบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
4.3 ทักษะการพูดก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษา
แบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
4.4 ทักษะการอ่านก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษา
แบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
4.5 ทักษะการเขียนก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
5) เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเล่นปนเรียน เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ในระดับมาก