การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพหัก “วงศ์สมบูรณ์ราษฎร์อุปถัมภ์” จังหวัดราชบุรี

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง        การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนโพหัก “วงศ์สมบูรณ์ราษฎร์อุปถัมภ์” จังหวัดราชบุรี

ผู้ศึกษา          มาติกา  ถินกระโทก ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

ปีที่ศึกษา       พ.ศ. 2561

 

                                           บทคัดย่อ

 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่องความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น และ3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพหัก “วงศ์สมบูรณ์ราษฎร์อุปถัมภ์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8  ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน  36  คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/2 โรงเรียนโพหัก “วงศ์สมบูรณ์ราษฎร์อุปถัมภ์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้คู่กับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น จำนวน 14 แผน ใช้เวลาสอนแผนละ 1 ชั่วโมง รวม 14 ชั่วโมง  2)  แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  และ 4) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็นจำนวน 10 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale) 5 ระดับ คือ พอใจมากที่สุด พอใจมาก  พอใจปานกลาง พอใจน้อย พอใจน้อยที่สุดและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  (t–test)

ผลการศึกษา  พบว่า

  1.     แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ     83.78/80.29 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.72 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการ เรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.00
  2.    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
  1.   ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.09 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.37

 

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @