ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบ
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางธฤษวรรณ นาทีชัยชนะ
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) เว็บไซต์การเรียนFlipped Classroom 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4)แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีม 5) แบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม 6)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 5 ทำให้ได้องค์ประกอบของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบมีทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน 3) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเว็บ 4) การติดต่อสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ 5) กิจกรรมกลุ่มเพื่อการประยุกต์ใช้ และ 6)การวัดและประเมินผลขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นแบ่งกลุ่ม 2)ขั้นนำเสนอเนื้อหาบนเว็บ 3) ขั้นบันทึกการเรียนรู้ 4) ขั้นร่วมกันวางแผนแบ่งหัวข้อเพื่อสืบค้น 5)ขั้นเข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างผลงาน และ 6) ขั้นนำเสนอผลงาน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่ม สืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
อันประกอบ6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน 3) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเว็บ 4)การติดต่อสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ 5) กิจกรรมกลุ่มเพื่อการประยุกต์ใช้ และ 6)การวัดและประเมินผล
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นแบ่งกลุ่ม 2)
ขั้นศึกษาเนื้อหาบนเว็บ 3) ขั้นบันทึกการเรียนรู้ 4) ขั้นร่วมกันวางแผนแบ่งหัวข้อเพื่อสืบค้น 5)ขั้นเข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างผลงาน และ 6) ขั้นนำเสนอผลงานรูปแบบมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.06/80.89 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80ปรากฏว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3.ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมจากการประเมินตนเองในการเรียนรู้เป็นทีมในครั้งที่1 และครั้งที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมจากการสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้เป็นทีมด้วยเกณฑ์ ประเมินแบบรูบริค ประเมินโดยผู้วิจัย ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 6สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมจากการสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้เป็นทีมด้วยเกณฑ์ประเมินแบบรูบริค ประเมินโดยสมาชิกในทีม ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก