เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ E R P S P L S Model เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)
อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ผู้วิจัย ยุทธชัย เรณูนวล
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ E R P S P L S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ E R P S P L S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) ) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E R P S P L S Model ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E R P S P L S Model กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E R P S P L S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E R P S P L S Model จำนวน 20 แผน ๆ ละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test dependent samples)
ผลการวิจัย
- รูปแบบการจัดการเรียนรู้ E R P S P L S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นที่ 2 ทบทวนความรู้เดิม (Review previous knowledge) ขั้นที่ 3 ขั้นเผชิญปัญหา (Problem Confrontation) ขั้นที่ 4 ขั้นเสริมความรู้ใหม่ (Step to add new knowledge) ขั้นที่ 5 ขั้นคิดแก้ปัญหา (Problem solving) มีขั้นตอน ดังนี้ 1) ทำความเข้าใจกับปัญหา 2) วางแผนการแก้ปัญหา 3) ดำเนินการแก้ปัญหา 4) ประเมินผลการดำเนินแก้ปัญหา ขั้นที่ 6 ขั้นฝึกทักษะด้วยการปฏิบัติ (Learning by doing) ขั้นที่ 7 ขั้นสรุปและประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา (Summary and evaluation of problem solving ability)มีความเหมาะสมมากที่สุดทุกด้าน โดยทุกด้านมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมระหว่าง 4.53 – 5.00
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E R P S P L S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E R PS P L S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด