บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : รายงานการพัฒนาการบริหารจัดการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
ผู้รายงาน : นายไพรพิพัฒน์ เขียวสิงห์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนแม่จันวิทยาคม
ปีการศึกษา : 2561
รายงานการพัฒนาการบริหารจัดการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน แม่จันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม การรายงานผลการพัฒนาการบริหารโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจในการพัฒนาการบริหารโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเจาะจงเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie&Morgan) ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 5 คน ครูผู้สอนที่ร่วมโครงการ รวม 86 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน นักเรียน จำนวน 327 คน ได้มาโดย การจับสลากจากนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 327 คน ได้มาโดย การจับสลากจากรายชชื่อนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งหมด 760 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม ก่อนการดำเนินโครงการ แบบสอบถามการดำเนินงานโครงการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม แบบประเมินความพึงพอใช้ของครู นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลผล และนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยาย ผลการประเมินพบว่า
สภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคมสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 พบว่า สภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.08 มีค่าความแปรปรวน 0.536 ซึ่งในรายละเอียดในด้าน
การวางแผน (Planning) พบว่า สถานศึกษามีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานนักเรียนที่เป็นปัจจุบันอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.11 มีค่าความแปรปรวน 0.623 สถานศึกษาได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานและจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.22 มีค่าความแปรปรวน 0.574 และคณะกรรมการประสานงานมีการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษาในงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.32 มีค่าความแปรปรวน 0.535
การจัดองค์การ (Organizing ) พบว่า จัดทำโครงสร้างของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ชัดเจนและมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.98 มีค่าความแปรปรวน 0.516 สถานศึกษามีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการประสานงานและคณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.09 มีค่าความแปรปรวน 0.438 และ สถานศึกษาได้อธิบายและแจ้งรายละเอียดให้คณะครูก่อนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.15 มีค่าความแปรปรวน 0.420
การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน (Staffing ) พบว่า สถานศึกษามีการประสานงานกับผู้ปกครองเป็นคณะกรรมการและเครือข่ายในการช่วยเหลือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.78 มีค่าความแปรปรวน 0.611 สถานศึกษามีการประชาสัมพันธ์ประสานงานหน่วยงานภายนอกเป็นคณะกรรมการและเครือข่ายในการช่วยเหลือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.84มีค่าความแปรปรวน 0.582 และสถานศึกษามีการประสานงานกับผู้นำทางศาสนาคณะกรรมการและเครือข่ายในการช่วยเหลือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1. 95 มีค่าความแปรปรวน 0.524
การอำนวยการ (Directing) พบว่า สถานศึกษามีการติดตามผลการส่งต่อนักเรียนของผู้เชี่ยวชาญภายนอกอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.58 มีค่าความแปรปรวน 0.700 ครูมีการให้คำปรึกษาเบื้องต้นกับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.68 มีค่าความแปรปรวน 0.713 และ ครูมีการบันทึกข้อมูลนักเรียนทุกคนที่ตนเองรับผิดชอบในระเบียนสะสมและสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อคัดกรองนักเรียน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.81 มีค่าความแปรปรวน 0.595
การประสานงาน ( Coordinating ) พบว่า คณะกรรมการประสานงานสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากหัวหน้าระดับเสนอคณะกรรมการประสานงาน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.89 มีค่าความแปรปรวน 0.547 คณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีการประสานกับชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานภายนอกในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.99 มีค่าความแปรปรวน 0.483 และ ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้นแต่ละคนจัดทำรายงานการดำเนินงานเสนอต่อหัวหน้าระดับชั้นทุกสิ้นภาคเรียน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.23 มีค่าความแปรปรวน 0.496
การรายงาน ( Reporting) พบว่า สถานศึกษามีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.85 มีค่าความแปรปรวน 0.576 สถานศึกษามีการนำผลการประเมินมาประชุมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.98 มีค่าความแปรปรวน 0.516
สถานศึกษามีการรายงานผลการดำเนินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมออยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.37 มีค่าความแปรปรวน 0.509
การงบประมาณ (Budgeting) พบว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสอดคล้องกับหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.71 มีค่าความแปรปรวน 0.620 วัสดุ อุปกรณ์ที่ให้ในการปฏิบัติงานเหมาะสม อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.77 มีค่าความแปรปรวน 0.579 และสถานศึกษามีการนำผลการประเมินมาประชุมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.87 มีค่าความแปรปรวน 0.476
ประเมินโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ในด้านการประเมินบริบท (Context Evaluation ) มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.90 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.94 ) รองลงมาวัตถุประสงค์ของโครงการนำไปสู่การปฏิบัติและกิจกรรมต่างๆ ในโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.93 ) และ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.91 )
ประเมินโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 การประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation ) มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.79 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า โรงเรียนมีการศึกษาสภาพและข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานก่อนดำเนินการตามโครงการ ( = 4.95 ) รองลงมาโรงเรียนมีการศึกษาสภาพและข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานก่อนดำเนินการตามโครงการ มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.88 ) และ ผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นในความสำเร็จของโครงการ ส่วนทางด้าน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ สำหรับดำเนินโครงการมีความเพียงพอ และโรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยสนับสนุนต่อการดำเนินงานตามโครงการ มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.85 )
ประเมินโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation ) มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.81 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า โรงเรียนมีการดำเนินงานตามแผนโครงการที่กำหนดไว้ ( = 4.92 ) รองลงมาโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในชุมชน มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.88) และ โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในโรงเรียนและ โรงเรียนมีการประชุมติดตามงาน รายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ สอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.85 )
ประเมินโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 การประเมินผลผลิต(Product Evaluation ) ผลที่เกิดกับผู้เรียน มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.88 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่านักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงตามสภาพปัญหา ( = 4.90 ) รองลงมา นักเรียนรู้จักตนเอง ควบคุมตนเองได้ มีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.89) และ นักเรียนมีสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดีและอบอุ่น นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของสถานศึกษา สอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.88 )
ประเมินโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 การประเมินผลผลิต (Product Evaluation ) ที่เกิดกับครู มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.80 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่าโรงเรียนมีทีมนำและทีมประสาน อันได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนทุกฝ่าย กรรมการสถานศึกษา รวมทั้งหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้างานต่างๆตระหนักถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักสำคัญในการดำเนินงาน โดยต้องได้รับความร่วมมือจากครูทุกคนในโรงเรียน รวมทั้งการสนับสนุนในเรื่องต่างๆจากโรงเรียน ( = 4.82 ) รองลงมา คณะกรรมการหรือคณะทำงานทุกคนมีการประสานกันอย่างใกล้ชิดและมีการประชุมในแต่ละคณะอย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนด มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.80)
ประเมินโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 การประเมินผลผลิต (Product Evaluation ) ผลที่เกิดกับโรงเรียน มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.85 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่าโรงเรียนมีการสร้างการมีส่วนร่วม ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ในการที่เอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ( = 4.89 ) รองลงมา โรงเรียนมีการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.86) และ โรงเรียนมีการประสานงานกับ หน่วยงานภายนอกในการดูเลช่วยเหลือนักเรียนสอดคล้องในระดับมากที่สุด ( = 4.85 )