การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 (สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม)

KRUPUNMAI SHARE

ชื่องานวิจัย        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 (สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม)

ผู้วิจัย                   นางนฤมล ทองพันธ์
หน่วยงาน            โรงเรียนบัวใหญ่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา         พ.ศ. 2562

บทคัดย่อ
การดำเนินการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 (สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101(สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม) ก่อนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 (สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม) ก่อนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบัวใหญ่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จ านวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา รายวิชาพระพุทธศาสนา รหัสวิชา ส 21102 จ านวน 20 ชั่วโมง จ านวน1 ฉบับ แบบทดสอบวัดความรู้รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 (สาระศาสนา ศีลธรรมจริยธรรม) จ านวน 1 ฉบับและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 (สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม) โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา จ านวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบ แบบ t – test (One group pretest – posttest design) และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เรียกว่า “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาสังคมศึกษารหัสวิชา ส21101 (สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม)” มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์กระบวนการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ( ขั้นน าสู่บทเรียน ขั้นศีล ขั้นสมาธิ ขั้นปัญญา และขั้นสรุปและประเมินผล) สาระความรู้และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน และเงื่อนไขการน ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาฯ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.37/84.20 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
2) ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ก่อนและหลังการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า คะแนนการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 (สาระศาสนา ศีลธรรมจริยธรรม) มีคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์หลังเรียนสูงกว่าคุณลักษณะอันพึงประสงค์ก่อนเรียนเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ทั้งนี้ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยมทุกด้าน เรียงตามล าดับได้ดังนี้ คือ ด้านความมีวินัยและความรับผิดชอบ ด้านมุ่งมั่นในการทำงานและด้านใฝ่เรียนรู้
3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า คะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัย ส ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงสรุปได้ว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาสังคมศึกษารหัสวิชา ส21101 (สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส21101 (สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม) โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาพบว่า โดยรวม นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในด้านบรรยากาศในการเรียนรู้, ด้านการวัดและประเมินผลและด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามล าดับ ส่วนด้านระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

การประเมินโครงการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @