การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD   และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

KRUPUNMAI SHARE

ชื่อเรื่อง               การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD
และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชื่อผู้วิจัย           นางภิรัชดา  สุขเกลอ

ปีที่ศึกษา           2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด และความจำเป็นของการประเมินทักษะการอ่าน การเขียนคำ   ที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย 2) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำ ที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2  4) เพื่อประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดช่องลม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน  ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครู เรื่อง สภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านการจัดการเรียนรู้ และฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด และการประเมินทักษะการอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) แบบสอบถามความคิดเห็นครูเกี่ยวกับความจำเป็นของการประเมินทักษะการอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค เอ็กซ์พลิซิท และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่าน การเขียน คำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด  และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน   การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์-พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เวลาที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง 22 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองเป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  และทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และการทดสอบที (t-test dependent samples)

 

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผลการศึกษาสภาพผลการทดสอบ NT (National Test) ปีการศึกษา 2560 ด้านทักษะความสามารถทางด้านภาษา พบว่าได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 52.19 และสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 พบว่าได้คะแนนปลายปีเฉลี่ยร้อยละ 72.25 และผลการสัมภาษณ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในการนำเทคนิควิธีการ หรือสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนยังไม่หลากหลาย ขาดสื่อการเรียนการสอนที่สร้างความเร้าใจให้นักเรียน เลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผล  ที่ไม่เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ภาษาไทย   รวมทั้งครูขาดทักษะในการสร้าง  และวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือการประเมินและขาดทักษะการสร้างเกณฑ์การประเมินการอ่าน  การเขียนภาษาไทย สำหรับความคิดเห็นต่อความจำเป็นในการประเมินทักษะการอ่าน การเขียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.59, S.D. = 0.63) โดยมีความจำเป็นในด้าน ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมทักษะ การอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมากกว่าด้านอื่น
  2. ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏผลดังนี้ การหาประสิทธิภาพรายบุคคล มีค่าเท่ากับ 53.24/51.67 การหาประสิทธิภาพกลุ่มย่อย มีค่าเท่ากับ 73.03/63.00 และการหาประสิทธิภาพภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 83.94/81.29
  3. ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.29/82.64 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ โดยทั้ง 4 เล่ม มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกเล่ม และผลสัมฤทธิ์การอ่าน การเขียน คำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน  การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์ พลิซิทหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  4. การประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ผลปรากฏว่าในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (=4.51, S.D. = 0.60)

 

Rate this post

KRUPUNMAI SHARE

Check Also

รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาดินแดนแห่งอัตลักษณ์พื้นภูมิเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

KRUPUNMAI SHARE ...

@ เว็ปไซต์ เพื่อข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษา www.krupunmai.com @ ครูพันธุ์ใหม่ดอทคอม @