บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๑ – ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อผู้ประเมิน : นายอภินันท์ กัณฑภา
โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์)
ปีที่ประเมิน : ๒๕๖๑
การประเมินโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ อ่านไม่ออกและ อ่านไม่คล่องโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ครั้งนี้ใช้แบบจำลองการประเมินแบบซีโป CPO (CPO ’S Evaluation Model) มีจุดประสงค์ ๑)เพื่อประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมโครงการ (Context) ได้แก่ (๑.๑) ความต้องการจำเป็นของโครงการ (Need Assessment) (๑.๒) ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility) (๑.๓) วัตถุประสงค์ของโครงการ (Objectives) (๑.๔) ความพร้อมและทรัพยากรใน การดำเนินการ (Readiness and rosources) ๒) เพื่อประเมินกระบวนการปฏิบัติงานระหว่างการดำเนินการของโครงการ (Process) ได้แก่ (๒.๑) กิจกรรมโครงการ (Activity) (๒.๒) ช่วงเวลา (Timing) ๓) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Outcome) ได้แก่ ผลการดำเนินการหลังดำเนินโครงการที่เป็นผลรวม (Overall) ๔) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และ ๕) เพื่อประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนหลังหลังการดำเนินโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ปีการศึกษา ๒๕๖๑ รวม ๑๘๘ คน จำแนกเป็นผู้บริหาร ๒ คน ครู ๔๐ คน รวมทั้งสิ้น ๔๒ คน คณะกรมการสถานศึกษา ๑๓ คน และผู้ปกครองนักเรียนที่อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง จำนวน ๑๓๓ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นจากการกำหนดกรอบแนวคิดในการประเมินจากเนื้อหา ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง มีจำนวน ๔ ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ ๑ เป็นแบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษา สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) จำนวน ๔๕ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับ เท่ากับ .๙๗๕ ประกอบด้วย ด้านความจำเป็นของโครงการ (Need Assessment) จำนวน ๑๕ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .๙๕๑ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility) จำนวน ๑๒ ข้อ มีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ .๙๕๑ ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ (Objectives) จำนวน ๘ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น .๙๓๑ เท่ากับ ด้านความพร้อมและทรัพยากรในการดำเนินการ (Readiness and rosources) จำนวน ๑๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .๘๙๐ ฉบับที่ ๒ เป็นแบบสอบถามสำหรับครูผู้สอน สอบถามเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติงานระหว่างการดำเนินการของโครงการ (Process) จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ .๙๖๓ ประกอบด้วย ด้านการดำเนินกิจกรรมโครงการ (Activity) จำนวน ๒๓ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .๙๖๐และช่วงเวลาการดำเนินการ (Timing)จำนวน ๗ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .๙๐๙ ฉบับที่ ๓ เป็นแบบสอบถามสำหรับครูผู้สอน สอบถามเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ (Outcome) ที่เกี่ยวกับผลรวม (Overall) จำนวน ๑๒ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ .๙๒๖ ฉบับที่ ๔ เป็นแบบสอบถามสำหรับผู้ปกครองนักเรียน สอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน ๑๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๙๑๓
ผลการประเมินพบว่า
๑. ด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมโครงการ (Context) โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบในแต่ละด้านย่อย ปรากฏผล ดังนี้
๑.๑ ด้านความจำเป็น (Need Assessment) ของโครงการโดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีปัญหาการอ่านหนังสือ ไม่ออก มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนมีปัญหาอ่านหนังสือไม่คล่อง และนักเรียนประสบปัญหาไม่สามารถทำกิจกรรมการเรียนการสอนภายในห้องเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET)ต่ำ มีผล การประเมินอยู่ในระดับมาก
๑.๒ ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) ของโครงการโดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่องสอดคล้องกับสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูผู้สอนที่รับผิดชอบโครงการมีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาอ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง และโรงเรียนได้รับความร่วมมือและสนับสนุนโครงการแก้ปัญหานักเรียนอ่าน ไม่ออกและอ่านไม่คล่องจากหน่วยงานและองค์กรในชุมชน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือให้นักเรียนมาเรียนซ่อมเสริมในตอนเย็นหลังเลิกเรียนและวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
๑.๓ ด้านวัตถุประสงค์ (Objectives) ของโครงการโดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วัตถุประสงค์สอดคล้องกับสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ วัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของต้นสังกัด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กำหนดเป้าหมายสอดคล้องกับวัตถุประสงค์มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
๑.๔ ด้านความพร้อมและทรัพยากรในการดำเนินการ (Readiness and rosources) ของโครงการโดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูผู้สอนตามโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาการอ่าน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ผู้ปกครอง ผู้บริหาร และครูให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการแก้ปัญหาการอ่าน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีเครื่องมือ การอ่านสำหรับใช้ประเมินการอ่านและโรงเรียนจัดให้มีหนังสือสำหรับส่งเสริมการอ่านที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียนอย่างเพียงพอ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
๒. ด้านกระบวนการปฏิบัติงานระหว่างการดำเนินการของโครงการ (Process) โดยรวมผล การประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบในแต่ละด้านย่อย ปรากฏผล ดังนี้
๒.๑ ด้านการดำเนินกิจกรรมโครงการ (Activity) โดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูจัดทำเครื่องมือ คู่มือในการดำเนินกิจกรรมได้สอดคล้องกับปัญหา มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูประเมินการอ่านนักเรียนกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ เวลาที่ใช้สอนซ่อมเสริมแต่ละครั้งได้เพียงพอและเหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
๒.๒ ด้านช่วงเวลาการดำเนินการ (Timing) โดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานของโครงการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ คณะกรรมการผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการมีเวลาในการเตรียมความพร้อมของการดำเนินงานและการประเมินผลการดำเนินโครงการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กิจกรรมในโครงการดำเนินเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด มีผล การประเมินอยู่ในระดับมาก
๓. ด้านผลผลิตของโครงการ (Outcome) เฉพาะผลรวม (Overall) โดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีนักเรียนกลุ่มเป้าหมายอ่านหนังสือไม่ออก มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนกลุ่มเป้าหมายอ่านหนังสือไม่คล่อง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนกลุ่มเป้าหมายอ่านหนังสือได้ด้วยตนเอง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
๔. ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง ช่วยแก้ปัญหาให้นักเรียนท่านอ่านหนังสือออก มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ โครงการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง ช่วยแก้ปัญหาให้นักเรียนท่านอ่านหนังสือคล่อง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โครงการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง ช่วยให้นักเรียนท่านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
๕. หลังการดำเนินโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี นักเรียนกลุ่มเป้าหมายอ่านหนังสือออกในทุกระดับชั้นคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และอ่านหนังสือคล่องใน ทุกระดับชั้นคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
เรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีที่ให้ความกรุณาในการตอบแบบสอบถาม และให้ช่วยเหลือในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างดียิ่ง
คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอน้อมบูชาพระคุณบิดามารดาและบูรพาจารย์ทุกท่านที่ได้อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ และให้ความเมตตาแก่ผู้วิจัยมาโดยตลอด ซึ่งเป็นกำลังใจสำคัญที่ทำให้การศึกษาวิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี