ชื่อเรื่อง | ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รูปแบบ เอส คิว โฟร์ อาร์ เสริมด้วยแผนผังความคิดต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
ผู้ศึกษา | พิณญา นวลแก้ว |
ตำแหน่ง | ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ |
สถานที่ทำงาน | โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) |
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา | |
ปีที่พิมพ์ | 2561 |
|
บทคัดย่อ
ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รูปแบบ เอส คิว โฟร์ อาร์ เสริมด้วยแผนผังความคิดต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ วรรณคดีและวรรณกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ วรรณคดีและวรรณกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน จากการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ วรรณคดีและวรรณกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ วรรณคดีและวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ วรรณคดีและวรรณกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด พบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ วรรณคดีและวรรณกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.66 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.87 ความก้าวหน้าของความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยภาพรวมนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 7.32 หรือคิดเป็นร้อยละ 18.29 2) ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ วรรณคดีและวรรณกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ วรรณคดีและวรรณกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01