วิจัย : รูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(งานเกษตร) เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills)
โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย : นางสุชานันท์ วัฒนเวช ตำ่แหน่ง ครูชำ่นาญการพิเศษ
ปีวิจัย : 2560 – 2561
บทคัดย่อ
สำ่หรับการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชผักทั่วไป ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชผักทั่วไป ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชผักทั่วไป ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.3) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชผักทั่วไป ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของครูและนักเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลชนะชัยศรี เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2560-2561 จำนวน 70 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น คู่มือครูประกอบแผน การจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ได้นานการตรวจสอบ หาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวซาญและผ่านการตรวจสอบความยาก (P) ค่าอำ่นาจจำ่แนก (1) ค่าความเชื่อมั่น (KR – 20) ทั้งฉบับ และค่าความเที่ยงตรง (a) มีสถิติใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าประสิทธิผล (E.I.) ค่า t – test ผลการวิจัยพบว่า
- การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำ่หรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมแล้วมีความเหมาะสมใน ระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.63
- การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างและพัฒนาขึ้นโดยภาพรวมมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
- ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้
3.1 ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชผักทั่วไป ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 86.19/87.26
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชผักทั่วไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชผักทั่วไป ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D. = 0.63)
ดังนั้นสรุปได้ว่า การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) โดยใช้การคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาให้กับนักเรียน โดยนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) ที่ดียิ่งขึ้น ครูและโรงเรียน จะมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนต่อไป