เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ การคิดเชิงบริหาร ( EF) เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ของเด็กอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ผู้วิจัย นางสาวสนใจ ช่วยชู
ปีที่ 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ การคิดเชิงบริหาร ( EF) เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางด้านอารมณ์ ประกอบด้วย 3 ระยะดังนี้ การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จากนั้นดำเนินการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ โดยครูและผู้ปกครอง การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ การคิดเชิงบริหาร (EF) การจัดประสบการณ์ การคิดเชิงบริหาร ( EF) เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กชั้นอนุบาล การวิจัยระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ การคิดเชิงบริหาร ( EF) เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน 16 คน เครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เก็บข้อมูลได้แก่ รูปแบบการจัดประสบการณ์ การคิดเชิงบริหาร (EF) และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 60 แผน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) จากการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ เป็นจำนวน 16 คน 2) รูปแบบการจัดประสบการณ์ การคิดเชิงบริหาร ( EF) เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า BESE Model มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมได้แก่ ขั้นที่ 1 การบริหารสมอง (B : Brain Gym) ขั้นที่ 2 การสำรวจ การค้นหา (E : :Exploration) ขั้นที่ 3 ร้อง เล่น เต้น รำ ให้เด็กเกิดความรู้สึกสนุกสนานอยากเรียนรู้ สรุปบทเรียนและสะท้อนการเรียนรู้ (S : Singing) ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้ และสรุปทบทวน (E : Evaluations) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ การคิดเชิงบริหาร ( EF) เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ได้แก่ 3.1 ) การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงคะแนนการจัดรูปแบบการจัดประสบการณ์ การคิดเชิงบริหาร ( EF) กรมสุขภาพจิต จำนวน 15 ข้อ ผลรวมระหว่างปฏิบัติกิจกรรมมีความฉลาดทางอารมณ์ จะเห็นได้ว่าเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี มีผลการประเมินก่อนทดลองปฏิบัติกิจกรรมระยะที่ 1 โดยรวม เฉลี่ยเท่ากับ 37 ระยะที่ 2 โดยรวม เฉลี่ยเท่ากับ 44 และระยะที่ 3 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 47.69 และระยะที่ 4 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.07 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยรวมทั้ง 3 ระยะ หลังปฏิบัติกิจกรรมที่ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยหลังปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 และระยะที่ 3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยหลังปฏิบัติกิจกรรม ระที่ 2 ค่าเฉลี่ยสูงกว่าระยะที่ 1 ระยะที่ 3 ค่าเฉลี่ยสูงกว่าระยะที่ 2 ค่าเฉลี่ยสูงกว่าระยะที่ 4 และค่าเฉลี่ยสูงกว่าระยะที่ 3 โดยหลังปฏิบัติกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ก่อนปฏิบัติกิจกรรม
คำสำคัญ : รูปแบบการจัดประสบการณ์ การคิดเชิงบริหาร (EF) ความฉลาดทางอารมณ์ โดยใช้ รูปแบบ BESE